ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีรากฐานมาจากเกษตรกรรม แต่เกษตรกรของไทยนั้นขาดความรู้ ความเข้าใจ ในด้านของการจัดการในการทำการเกษตร ทำให้รายได้ที่เกษตรกรได้รับจากการขายสินค้านั้นไม่สูงมากนั้น ด้วยเหตุผลหลายๆประการ รวมถึงการที่สินค้าเกษตรของเกษตรกรไทยไม่มีมาตรฐานที่แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของสินค้า วันนี้เราจึงมีวิธีการขอมาตรฐานการผลิตการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) มาแนะนำ เพื่อให้เกษตรกรของไทยได้มีความเข้าใจและยกระดับความน่าเชื่อถือของสินค้าเกษตรไทยด้วย
GAP คืออะไร??
การผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม หรือ Good Agriculture Practices (GAP) หมายถึง แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนและขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรที่เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลักการนี้ได้รับการกำหนดโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
คู่มือการเพาะปลูกพืชตามหลัก GAP สำหรับพืชที่สำคัญของไทยจำนวน 24 ชนิด ประกอบด้วย
- ต้องเป็นเจ้าของหรือผู้ถือสิทธิในการดำเนินการผลิตหรือเป็นผู้ได้รับมอบหมาย จากเจ้าของหรือผู้ถือครองสิทธิในการดำเนินการผลิต ให้ดำเนินการผลิตพืชที่ระบุในแบบคำร้องขอใบรับรองฟาร์มตามระบบการจัดการ คุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช
- ต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฏร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจกระบวนการผลิต พืชที่ระบุในแบบคำร้องขอใบรับรองฟาร์มตามระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช เห็นด้วยโดยไม่มีข้อขัดแย้งกับนโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์คุณภาพที่ระบุในเอกสารระบบการจัดการคุณภาพ : GAP พืชที่ขอการรับรอง ต้อง ผ่านการอบรมหลักสูตรระบบการจัดการคุณภาพ : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
การปฏิบัติให้ได้ GAP
- แหล่งน้ำต้องมาจากแหล่งสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน
- ไม่มีสารปนเปื้อนในดินที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลผลิต
- ในวัตถุอันตรายในการผลิตตามข้อบังคับของกรมวิชาการเกษตร
- การเก็บรักษาและขนย้ายต้องมีโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน
- มีการบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายและป้องกันศัตรูพืช
- ปลอดศัตรูพืชหลังเก็บเกี่ยว
- มีการคัดแยกคุณภาพของผลผลิตออกอย่างชัดเจน
- เครื่องไม้เครื่องมือในการเก็บเกี่ยวต้องสะอาดและปลอดสารปนเปื้อน
สถานที่ยื่นขอรับมาตรฐาน GAP
เกษตรกรที่ต้องการขอการรับรองแหล่งผลิต GAP สามารถยื่นใบสมัครเพื่อขอการรับรองได้ที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ทุกแห่งทั่วประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมีเอกสารและหลักฐานที่ต้องยื่นดังต่อไปนี้คือ
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ต้องการขอการรับรอง
2. ใบสมัครขอการรับรอง
แหล่งที่มา
ขอขอบคุณ : FarmFriend / สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร
Related posts