สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

1. สภาพภูมิอากาศ
1.1 อุณหภูมิ: ร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 25-30 °C
1.2 แสง: ชอบแสงแดดจัด ทนแสงได้ แสงร่มรำไรก็ปลูกได้ ?
1.3 น้ำ: ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้งได้

2. สภาพพื้นที่
พื้นที่ดอน ไม่มีน้ำขัง มีความลาดเอียงของพื้นที่น้อย เพราะต้องใช้ค้าง
ให้เถาเพชรสังฆาตยึดเกาะ

3. สภาพดิน
3.1 ประเภทดิน – ดินร่วนซุย สามารถขึ้นได้ในทุกสภาพดิน
3.2 อินทรียวัตถุ – มีปริมาณอินทรียวัตถุ
3.4 การระบายน้ำ – ระบายน้ำดี ไม่ท่วมขัง

 

 

แนวทางในการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์

สายพันธุ์

พันธุ์พื้นเมืองในท้องถิ่น

 

ผลผลิตเฉลี่ย

ผลผลิตสด 2,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่
ผลผลิตแห้ง 300-500 กิโลกรัมต่อไร่
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง 6-7 : 1

 

การเตรียมดิน

* ขุดหรือไถพรวนให้ดินร่วน
* ปลูกเป็นหลุม ใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม เล็กน้อย
* ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักฮิวมัส

 

การเตรียมพันธุ์

* นำเถาที่แก่และสมบูรณ์ มาตัดเป็นท่อน แต่ละท่อนควรมีข้ออยู่ 1-2 ข้อ ยาวประมาณ 15 ซม.
* นำไปเพาะชำ ในดิน โดยปักเอียงเล็กน้อย ลึกราว 10 ซม. ให้มีข้อฝังดินอยู่ 1 ข้อ
* รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ

 

การปลูก

* ย้ายปลูกจากต้นกล้าที่ชำไว้ โดยต้นกล้าควรเริ่มแตกใบและรากดัแล้ว
* ปลูกต้นกล้าโดยใช้ระยะปลูก 50 x 150 ซม.

 

การให้ปุ๋ย

* ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยฮิวมัสปีละครั้ง หรือหลังเก็บเกี่ยวแต่ละครั้ง
* หลีกเลี่ยงมูลไก่ เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราที่ข้อได้

 

การให้น้ำ

ให้น้ำเป็นระยะ ประมาณสัปดาห์ละ 2 ครั้ง

 

การกำจัดวัชพืช

ถอนวัชพืช หรือใช้อินทรียวัตถุคลุมแปลง

 

เตรียมแปลงปลูก

* ปลูกเป็นหลุม ทำค้างให้ต้นเพชรสังฆาตเลื้อยเกาะ (ค้างสามเหลี่ยมจะดีกว่าค้างตัวที)
* ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และถ่านไบโอชาร์ปรับปรุงดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 – 45 วัน ก่อนย้ายกล้าชำไปปลูก

 

ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

มีปัญหาเรื่องหอยทาก และหนอนแก้ว แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้สร้างความเสียหายถึงขนาดต้องจัดการกับศัตรูพืช

 

การเก็บเกี่ยว

* เก็บเกี่ยวเถาเพชรสังฆาตที่สมบูรณ์ โดยเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน – 2 ปี

 

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

– หั่นเป็นท่อนๆ ละ 2 – 3 ซม. ล้างน้ำให้สะอาด แล้วตากในที่ร่ม ใช้ผ้าขาวบางคลุมขณะตาก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งเจือปน หรือ อบแห้งที่อุณหภูมิ 50-55 °C นาน 48 ชั่วโมง
– นำเพชรสังฆาตที่อบแห้งสนิทบรรจุถุงใสปิดปากให้สนิท เขียนฉลาก นำเข้าจัดเก็บในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี ป้องกันแสงแดด
– คอยหมั่นตรวจดูและระวังไม่ให้มีเชื้อราหรือแมลงเข้าทำลาย ทำให้คุณภาพลดลง
– เพชรสังฆาตแห้งที่เก็บไว้เกิน 3 เดือน อาจต้องนำมาอบใหม่ ถ้าลดความชื้น และกำจัดแมลง

 

การตัดแต่ง

ควรหมั่นตัดแต่งเถา เพื่อให้แตกข้อจำนวนมาก
โดยเฉพาะหลังปลูกแล้ว 2 ปี ควรมีการตัดแต่งใหญ่