เพชรสังฆาต

ถ้าพูดถึงสมุนไพรเพชรสังฆาต คนไทยส่วยใหญ่ก็คงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสมุนไพรรักษาริดสีดวงที่มีประโยชน์มากมาย และสามารถนำมาปรุงยารักษาโรคได้หลายขนาน นอกจากนี้ยังเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการรักษาโรคริดสีดวงได้อย่างเห็นผลชัดเจน แต่ก็มีหลายคนที่ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า เพชรสังฆาตมีสรรพคุณในการรักษาริดสีดวงได้อย่างไร มีอันตรายหรือผลข้างเคียงกับร่างกายหรือไม่ ในบทความนี้เรามีคำตอบ มาดูรายละเอียดกันเลย

 

สมุนไพรเพชรสังฆาต คืออะไร?

พชรสังฆาต อ่านว่า (เพ็ด-ชะ-สัง-คาด) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Veld grape และ มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cissus quadrangularis) เป็นไม้เลื้อยในตระกูลองุ่น มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย และ แอฟริกา โดยมีชื่อเรียกในภาษาพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น สันชะฆาต ตำลึงทอง ย่าพลู สามร้อยต่อ สันชะควด ขันข้อต่อกระดู ซึ่งในตำราสมุนไพร นิยมนำมาใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก และ คั้นเอาน้ำดื่มเพื่อรักษาโรคลักปิดลักเปิด มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา ต้านอนุมูลอิสระ มีแคโรทีนอยด์ และ มีวิตามินซีสูงมาก

 

เพชรสังฆาต มีลักษณะเป็นอย่างไร?

เพชรสังฆาต เป็นสมุนไพรไม้เลื้อยที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรชั้นดี ที่ช่วยรักษาอาการของโรคได้อย่างหลากหลาย เช่น

 

เพชรสังฆาตมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

 

ส่วนลำต้นของเพชรสังฆาต (เถา)

มีลักษณะ เป็นไม้เถาลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม เป็นข้อปล้องๆต่อกัน เปลือกเถาเรียบ สีเขียว รูปสี่เหลี่ยมเป็นครีบ เห็นข้อปล้องชัดเจน ตรงข้อเล็กรัดตัวลง บางข้ออาจมีรากออกมาด้วย ตามข้อมียางขาว แต่ละข้อยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร มีสรรพคุณในการแก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ แก้หูน้ำหนวก กระดูกซ้น ช่วยให้เจริญอาหาร ขับน้ำเหลือง รักษาโรคริดสีดวง รักษาอาการจุกเสียด ขับลมในลำไส้ ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้

ส่วนใบของเพชรสังฆาต

มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ ใบเรียบเป็นสีเขียวมัน ก้านยาว 2-3 เซนติเมตร ออกเรียงสลับตามข้อต้น มีสรรพคุณ ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย และ สมานกระดูกที่หักให้ติดกันได้ไวขึ้น

ส่วนดอกของเพชรสังฆาต

ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน

ส่วนผลของเพชรสังฆาต

เป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ในผลมีเมล็ดกลมสีน้ำตาล 1 เมล็ด ผลอ่อนจะมีสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ

ส่วนรากของเพชรสังฆาต

นำมาพอกในส่วยที่มีการหักของกระดูก ช่วยทำให้กระดูกที่แตกหัก สมานติดกันง่ายขึ้น

ซึ่งส่วนที่นิยมนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ ลำต้น(เถา) ราก ใบยอดอ่อน และ น้ำจากต้น เพชรสังฆาตเป็นสมุนไพรเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย แต่สรรพคุณเด่นๆ อยู่ 2 อย่าง คือ ใช้ในการรักษากระดูกหัก กระดูกแตก และ ที่คนรู้จักกันดีคือใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการใช้แก้หวัด รักษามะเร็ง และ บำรุงร่างกาย ได้อีกด้วย

ประโยชน์และสรรพคุณของเพชรสังฆาต แก้อะไรได้บ้าง?

  1. เป็นยารักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก ช่วยลดอาการอักเสบ ลดอาการเลือดดำคั่ง ทำให้ระบบโลหิตไหลเวียนสะดวกขึ้น และ ทำให้หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักหดตัวลง เพราะตัวสมุนไพรเพชรสังฆาตอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระ
  2. ช่วยขับลมในลำไส้ ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย จุดเสียดแน่น
  3. ช่วยลดอาการท้องผูก เพชรสังฆาตมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยระบายท้อง
  4. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารทั้งชนิดกลีบมะไฟและเดือยไก่
  5. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเพชรสังฆาตอุดมไปด้วยวิตามินซี
  6. รักษาอาการกระดูกแตกหักซ้น บำรุงกระดูก ช่วยลดอาการบวม หรืออักเสบ และ กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เพื่อเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก พบว่า เพชรสังฆาตให้ความหนาแน่นของมวลกระดูก และ ความแข็งแรงได้ดีกว่า
  7. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพราะเพชรสังฆาตอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
    นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคอื่นๆ เช่น รักษาอาการเลือดกำเดา ช่วยลดน้ำหนัก ใช้หยอดหูรักษาอาการหูน้ำหนวก แก้เลือดเสียในสตรี รักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ ช่วยทำให้เจริญอาหาร ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และ ช่วยต้านอนุมูลอิสระชะลอความแก่ได้ด้วย

วิธีและปริมาณในการใช้เพชรสังฆาต

  1. (น้ำคั้นจากต้น) นำมาปรุงเป็นยาธาตุ รับประทานเพื่อช่วยให้เจริญอาหาร
  2. (น้ำจากต้น) นำนำ้จากต้นเพชรสังฆาตใช้หยอดหู เพื่อรักษาอาการหูน้ำหนวก
  3. (เถา,ต้น) ช่วยขับน้ำเหลืองเสียออกจากร่างกาย
  4. (น้ำคั้นจากต้น) นำน้ำที่ได้จากการใช้เถาเพชรสังฆาตมาคั้น มาดื่มเพื่อรักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  5. (เถา) นำเถาเพชรสังฆาตมาตากแห้ง แล้วรับประทาน มีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้
  6. (ใบยอดอ่อน) นำมารับประทานรักษาอาการของโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ เช่น อาหารไม่ย่อย
  7. (น้ำคั้นจากต้น) นำนำ้จากต้นเพชรสังฆาตมาใช้หยอดจมูก เพื่อรักษาอาการเลือดเสีย ในสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  8. (เถา, น้ำคันจากต้น) ช่วยรักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
  9. (เถา,ใบ,ราก) นำมาบดเพื่อใช่พอกเมื่อมีอาการกระดูกแตก หัก ซ้น
  10. (เถา) ใช้เถาเพชรสังฆาตสด ๆ ประมาณ 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้ออาหาร ใช้เป็นยารักษาริดสีดวง ด้วยการนำมารับประทานด้วยการฝานเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วสอดไส้ในกล้วยสุก หรือ มะขามเปียก แล้วกลืนลงไป แต่ห้ามเคี้ยวเด็ดขาด เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้จะมีผลึกเซียมออกซาเลตรูปเข็มเป็นจำนวนมาก การรับประทานสด ๆ อาจทำเกิดอาหารคันในปาก ระคายต่อเยื่อบุในปากและในลำคอได้ หรือจะใช้เถาแห้งนำมาบดเป็นผง ใส่แคปซูลก็จะช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวารได้
    โดยก่อนการรับประทานเพชรสังฆาตหรือสมุนไพรใดๆ จำเป็นที่จะต้องมีการรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอน และ แน่ใจว่าปราศจากสิ่งปลอมปน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของต้นสดๆ หรือ ผ่านกระบวนการผลิตในโรงงาน เพื่อความปลอดภัยอย่างแท้จริง

เพชรสังฆาตรักษาริดสีดวง มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร

สารสกัดเพชรสังฆาตมีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาริดสีดวง มีฤทธิ์กระตุ้นหลอดเลือดดำ เหมาะสำหรับคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ซึ่งมักจะเกิดภาวะเลือดดำคั่งจนทำให้ส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่เกิดอาการโป่งพองคล้ายกับมีติ่งยื่นออกมาจากทวารหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดการอับเสบหรือติดเชื้อได้ง่าย การรับประทานเพชรสังฆาตจึงช่วยให้มีความตึงตัวเพิ่มขึ้น คล้ายกับส่วนผสมของไบโอฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ ไดออสมิน 90% และฮิสเพอริดิน 10% ที่พบในตำรับยาแผนปัจจุบัน ช่วยลดอาการอักเสบ รวมทั้งช่วยทำให้หลอดเลือดดำที่มีอาการบวมเป่งอยู่บริเวณทวารหนักหดตัว ฝ่อเล็กลงได้อีกด้วย

 

เพชรสังฆาต แก้ริดสีดวง ได้จริงไหม?

ในปัจจุบันมีผลการวิจัยแล้วว่าในสมุนไพรเพชรสังฆาตสามารถรักษาโรคริดสีดวงได้จริง โดยมีค่าเฉลี่ยจากการประเมินผลของสมุนไพรเพชรสังฆาตที่ใช้รักษาคนไข้โรคริดสีดวงกับยาดาฟลอน ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นเพชรสังฆาตจึงสามารถใช้ทดแทนยาดาฟลอนในการรักษาโรคริดสีดวงทวารได้เป็นอย่างดี โดยจะเริ่มสังเกตว่าอาการดีขึ้นหลังจากมีการรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์

เพชรสังฆาต มีผลข้างเคียงไหม?

สำหรับคนที่มีความประสงค์รักษาโรคริดสีดวงทวารด้วยการรับประทานยาสมุนไพรเพชรสังฆาต แนะนำให้ใช้ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่า หากมีการใช้ตัวยาอย่างไม่ระมัดระวัง หรือใช้ในจำนวนที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาเช่น

  • มีอาการตาเหลือง, ตัวเหลือง
  • มีอาการแน่นท้อง
  • มีอาการปัสสาวะผิดปกติ
  • มีอาการท้องโตขึ้นผิดปกติ

ส่วนใดของเพชรสังฆาต ที่นำไปทำยารักษาริดสีดวง

ในส่วนของเพชรสังฆาตที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำยารักษาริดสีดวง คือ ราก ลำต้น ใบ และ เถา ซึ่งมีสรรพคุณดังนี้

  • ต้น หรือ เถา นำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผง ใส่แคปซูล เพื่อให้สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น
  • ใบ นำไปตากแห้งแล้วบดใส่แคปซูล เพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้น ช่วยรักษาโรคลำไส้ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย

สมุนไพรเพชรสังฆาตในปัจจุบันได้มีการแปรรูปให้อยู่ในลักษณะของแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการรับประทาน ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีได้มีผลการวิจัยออกมายืนยันแล้วว่า เพชรสังฆาตสรรพคุณ สามารถรักษาโรคริดสีดวงทวารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลการรักษาเทียบเท่ายาแผนปัจจุบัน และ ได้มีการบรรจุขึ้นทะเบียนบัญชียาหลักแห่งชาติอีกด้วย

 

ข้อควรระวังในการใช้เพชรสังฆาต

  • ในการรับประทานเพชรสังฆาตสด จะต้องมีความระมัดระวัง เป็นพิเศษเพราะนอกจากจะมีรสขมแล้ว อาจทำให้เกิดอาการระคายคอ และ ระคายเยื่อบุในปากได้ หากมีการเคี้ยวโดยตรง เนื่องจากเถาสดมีผลึกแคล Calcium Oxalate อยู่จำนวนมาก ซึ่งสารชนิดนี้จะมีผลึกรูปเข็ม ดังนั้นแนะนำให้รับประทานเพชรสังฆาตแบบแคปซูลจะดีที่สุด
  • เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้อีกด้วย (หากมีความจำเป็นแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง)
  • ควรรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสมตามประมาณที่กำหนด หรือ ตามคำแนำนำของเภสัช เพราะหากใช้ยาในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้มีอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเสีย และ อาเจียนได้
  • หากมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง นอกจากนี้ บางโรคที่เพชรสังฆาตรักษาได้ แต่ยังไม่มีผลวิจัยที่แน่ชัด หากต้องการรับประทานเพชรสังฆาตเพื่อการรักษาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์จะดีที่สุด

สรุปส่งท้ายบท

การเลือกรับประทานยาสมุนไพรรักษาโรคริดสีดวง ควรเลือกตัวยาที่มีส่วนผสมของเพชรสังฆาต เนื่องจากมีสรรพคุณในการรักษาริดสีดวงทวรโดยตรง นอกจากนี้ก่อนการรับประทานยาทุกชนิดควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัช หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการเห็นผลลัพธ์ที่ดี และ ป้องกันผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยพบว่า ต้นเพชรสังฆาตมีสาร phytogentic steriods และ triterpenoids ที่มีฤทธิ์ ในการรักษากระดูกแตก ต่อต้านโรคกระดูกพรุน ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และ ลำไส้อีกด้วย