คณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ภาคเหนือและคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการเปิดตัวข้าวพันธุ์ใหม่ที่ทำการพัฒนาและปรับปรุง “ก่ำเจ้า มช.107” ที่โดดเด่นในเรื่องการต้านมะเร็งกระเพาะ และป้องกันโรคหัวใจ

อ้างอิงรูปภาพ : เชียงใหม่นิวส์

ทำการทดลอง ณ สาขาวิชาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ น.ส.ทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผอ.สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) พร้อม ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ได้ทำการเปิดตัวข้าวพันธุ์ใหม่ของประเทศไทย คือ ข้าวก่ำเจ้า มช.107 โดยจุดเริ่มต้น ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาข้าวก่ำล้านนา ที่กำลังจะสูญหายไปจากพื้นที่นาในภาคเหนือ เพราะคุณลักษณะของเมล็ดข้าวไม่เป็นที่นิยม เพื่อให้ได้ข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นและอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่มากมาย  โดยทำการปรับปรุงสายพันธุ์ ระหว่าง “พันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด” (พันธุ์พ่อ) ผสมกับ “พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105” (พันธุ์แม่) โดยใช้วิธีการปลูกคัดเลือกข้าวลูกผสมแบบสืบตระกูล ควบคู่กับการตรวจสอบความหอม การประเมินความสามารถในการปรับตัวและเสถียรภาพจนเกิดเป็นข้าวเจ้าก่ำสายพันธุ์ดีเด่นที่สามารถปลูกในเชิงเกษตรกรรมได้ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 143 เซนติเมตร   เป็นข้าวเจ้าเยื่อหุ้มเมล็ดมีสีม่วงดำสนิท ไม่มีสีอื่นปน  

 

อ้างอิงรูปภาพ : ข่าวสด

     “ทั้งนี้ ได้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ พัฒนาและยกระดับข้าวไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ปรับปรุงพันธุ์ข้าว เร่งกระบวนการปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว แปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มคุณค่าและต่อยอดเทคโนโลยีด้านข้าวให้กลายเป็นนวัตกรรมข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวที่มีมาตรฐานและคุณค่าสูงจนเป็นที่ยอมรับ”

โดยจุดเด่นของหลักๆ “ก่ำเจ้า มช.107” คือเมื่อหุงสุกหรือเย็นแล้วเมล็ดข้าวก็ยังคงมีลักษณะอ่อนนุ่ม อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์(พันธุ์พ่อและแม่) มีคุณสมบัติ คือมีปริมาณธาตุเหล็ก สังกะสี และสานแอนโทไซยานินสูง ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเรสเตอรอล ลดน้ำตาลในเลือก ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด     

ซึ่งผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 300-550 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้ามีการดูแลเอาใจใส่ในการปลูก และมีปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ดี อาจได้ผลผลิตสูงถึง 600-700 กิโลกรัมต่อไร่ สถานะของ “ก่ำเจ้า มช.107” ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์กับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว

รศ.ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย ผู้วิจัย ได้กล่าวไว้ว่า ก่ำเจ้า มช.107 เป็นข้าวก่ำล้านนาสายพันธุ์ใหม่ มีการพัฒนาพันธุ์จากข้าวเหนียวมาให้เป็นข้าวเจ้า ใช้ระยะเวลาทำการวิจัยและปรับปรุงประมาณ 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ ถือเป็นการพัฒนาและยกระดับข้าวไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่าอย่างครบวงจร ขณะนี้มีเกษตรกรต้นน้ำกว่า 100 รายได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์และปลูกข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการกลางน้ำ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือผลักดันให้เกิดมูลค่าเพิ่ม มีการกระจายเมล็ดพันธุ์ โดยจะมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวก่ำสายพันธุ์ใหม่สู่เชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในงาน “ล้านนา 4.0 พลิกโฉมเมืองเหนือด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม” ในวันที่ 7 พ.ย.นี้ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 
      ขอขอบคุณ : มติชนthaiquote