ให้ปุ๋ยดี…แต่ไม่โต
พืชก็เหมือนกับร่างกายของมนุษย์ที่ต้องจำเป็นของรับอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากพลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสงแล้ว พืชแต่ละชนิดก็ยังต้องการสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ในการเจริญเติบอีกด้วย รวมไปถึงปัจจัยที่ยิบย่อยต่าง ๆ อีก
ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดว่าแค่ใส่ปุ๋ยลงไปก็เพียงพอแล้ว แต่จริง ๆ พืชต้องการธาตุอาหารที่เหมาะสมและการดูแลที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดีและการเติบโตที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง
เมื่อต้นไม้ขาดธาตุเหล็ก (Iron) จะเกิดอาการใบและหน่อที่แตกใหม่เป็นสีเหลือง
แม้ว่าจะมีธาตุอาหารหรือปุ๋ยมากมายในต้องตลาด แต่พืชก็ยังคงมีโอกาสประสบปัญหาเรื่องการได้รับอาหารที่ขาดความสมดุลและนำไปสู่ภาวะขาดธาตุอาหารซึ่งสร้างผลกระทบด้านลบมากมาย เช่น ภาวะหยุดโต และโรคต่าง ๆ มากมาย
ค่า pH เป็นตัวบ่งชี้ว่าพืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารที่เราใส่ลงไปได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ ดังนั้นการควบคุมค่า pH จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปลูกว่าพืชจะได้รับธาตุอาหารครบตามที่ต้องการจริง ๆ
ใช่ครับ…ค่า pH หรือ ค่ากรด-ด่าง หรือ ค่ากรด-เบส ที่เราเรียนกันสมัยประถมฯ นั่นแหละ
ความรู้ประถมฯ ที่ทำให้พืชไม่ดูดสารอาหาร
ตารางสีไม่ได้มีไว้เพื่อใช้วัด เพราะเราจะไม่ใช้กระดาษลิตมัสอีกต่อไป
โดยปกติแล้วพืชจะทำการดูดซึมอาหารผ่านรากโดยธาตุอาหารต่าง ๆ จะทำละลายกับน้ำกลายเป็นไอออนก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าไปใช้ในลำต้น ดังนั้นการจัดการค่ากรด-ด่างหรือ pH ในวัสดุปลูกจึงมีความสำคัญเพราะส่งผลต่อการทำละลายและการดูดซึมของพืชนั่นเอง ทำให้นักปลูกจำเป็นต้องควบคุมระดับค่า pH ของบริเวณรากและของปุ๋ยที่ใช้ให้มีความเหมาะสม
หลักวิทยาศาสตร์: ธาตุอาหารที่พืชดูดซึมไปใช้จะอยู่ในรูปของไอออนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีความบริสุทธิ์และนำไปใช้ง่ายที่สุด การที่ธาตุอาหารจะอยู่ในรูปของไอออนได้นั้นจะต้องผ่านการทำละลายกับน้ำเสียก่อนโดยจะมีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบในตัว
ค่า pH ที่เราจะวัดนั้นก็อ้างอิงจากไอออนเช่นกันซึ่งจะอ่านจากค่าไฮโดรเจนไอออน (H+) โดยจำนวนที่พบจะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดค่าความเป็นกรดและด่างของสิ่งต่าง ๆ ที่เราจะวัด เช่น ดิน เป็นต้น ค่า pH จะมีสัดส่วนอยู่ระหว่างไฮโดรเจนไอออน (H+) ไปจนถึง ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ซึ่งเป็นไอออนประจุลบ หรือจะพูดให้ชัดเจนก็คือถ้าหากมีไฮโดรเจนไอออน (H+) อยู่มากกว่า ค่า pH จะเป็นกรด (0-7) แต่ถ้ามีปริมาณน้อยกว่าเมื่อเทียบกับไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ผลจะออกมาเป็นด่าง (7-14)
ไฮโดรเจนไอออน (H+) และไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) ที่เป็นตัวกำหนดค่า pH มีบทบาทสำคัญในการดูดซึมธาตุอาหารของพืช โดยทั้งคู่สามารถจะทำปฏิกิริยาและเข้าไปจับกับไอออนของธาตุอาหารในปุ๋ยทำให้ไม่สามารถเกิดการทำละลาย ส่งผลให้พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้นั่นเอง
ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้น นักปลูกจะสูญเสียธาตุอาหารไปโดยปริยายและอาจจะนำไปสู่การอุดตันของอุปกรณ์ได้
ชาร์ทแสดงให้เห็นถึงการทำปฏิกิริยาของธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ในแต่ละช่วงของค่า pH
ธาตุอาหารแต่ละชนิดมีค่าพิสัยไอออนของจุดทำละลาย (เพื่อให้พืชดูดไปใช้ได้) ที่แตกต่างกัน ถ้าหากค่าไอออนในบริเวรณนั้นอยู่นอกเหนือไปจากค่าพิสัยแล้ว ธาตุอาหารอาจจะเปลี่ยนรูปทางเคมีทำให้พืชจำไม่ได้ว่าสิ่งนี้คืออาหารและไม่ยอมดูดไปใช้ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “nutrient lockout” ส่งผลให้พืชเกิดสภาวะขาดสารอาหารในอนาคต โดยเฉพาะกับธาตุเหล็กและโมลิบดีนัม
เมื่อเกิด nutrient lockout แล้วจะเป็นการยากที่จะทำการแก้ไข เพราะฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือนักปลูกจะต้องป้องกันและดูแลไม่ให้ต้นไม้ของตัวเองไปถึงจุดนั้นจะดีกว่า
สรุป: การที่จะมีไอออนของธาตุอาหารที่สามารถทำละลายได้อยู่บริเวณรากนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะขึ้นอยู่กับค่า pH เป็นสำคัญ การควบคุมค่า pH ในบ่อพักน้ำ (กรณีใช้น้ำเป็นวัสดุปลูก) เป็นหัวใจของการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดีของพืช
การวัดค่า pH ในวัสดุการปลูกชนิดต่าง ๆ
สารละลายธาตุอาหาร (น้ำ)
- บ่อพัก ถ้านักปลูกสามารถควบคุมระดับค่า pH ในบ่อพักน้ำได้ทั้งหมด จะเป็นการป้องกันไม่ให้ไอออนของธาตุอาหารไปถึงจุดที่ทำละลายไม่ได้และนำไปใช้ไม่ได้
- เข้าใจระบบปลูก คอยสังเกตว่าต้นไม้กำลังดูดซึมธาตุอาหารอะไรเข้าไปบ้าง
- ล้อมคอกก่อนวัวหาย หมั่นตรวจสอบว่าพืชไม่ได้เปลี่ยนค่า pH บริเวณรากจนส่งกระทบต่อการดูดซึมสารอาหาร
การวัดค่า pH ในสารละลายธาตุอาหารนับว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายมากด้วยเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะอย่าง Bluelab pH Meter มีคุณสมบัติใช้วัดได้ทั้งน้ำ ดิน และวัสดุปลูกไร้ดิน มีความเเม่นยำสูงเพราะแสดงผลวัดค่าด้วยตัวเลขทศนิยมสองตำแหน่ง
นอกจากวิธีนี้นักปลูกยังสามารถนำตัวอย่างน้ำส่งไปตรวจที่แลบซึ่งค่อนข้างมีความยุ่งยาก ใช้ทุนและเวลามากกว่า หรือการใช้แผ่นตรวจและการลงมือปฏิบัติเองก็อาจจะไม่ถูกต้องแม่นยำเท่าไหร่นัก แต่สิ่งที่ต้องจำคือค่า pH ในวัสดุปลูกสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนผลิตผล ดังนั้นวิธีและความรวดเร็วในการวัดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ค่า pH เปลี่ยนแปลงได้
ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องได้รับการเอาใจใส่และตรวจสอบอยู่เสมอ ๆ นั่นหมายความว่าค่า pH ไม่ใช่ค่าตายตัว และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ซึ่งมีปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
- ตัวของพืชเอง พืชมีความสามารถในการเปลี่ยนค่า pH ของดินหรือวัสดุปลูก โดยความมากน้อยจะขึ้นอยู่กับช่วงการเติบโตของพืช การจดบันทึกค่า pH ในช่วงต่าง ๆ ของการปลูกช่วยให้ผู้ปลูกมีค่าประวัติเอาไว้ดูอ้างอิงว่ามีการแปรผันไปในทิศทางใด
- การใส่ปุ๋ยในรูปแบบต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงค่า pH ได้อย่างมากซึ่งเป็นเรื่องที่นักปลูกอาจจะยังไม่ตระหนักถึง ซึ่งหลายครั้งส่งผลให้ค่า pH เปลี่ยนไปในด้านที่เราไม่ต้องการ
- การใช้ผลิตภัณฑ์สเปรย์ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงค่า pH ในวัสดุปลูกได้เช่นกัน
- ดิน/วัสดุปลูก มักจะมีค่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สูง นำไปสู่การเกิดกรดคาร์บอนที่มีค่า pH ต่ำ
การปรับค่า pH ก็สามารถทำได้อย่างง่ายและสะดวกสบายเพียงการใช้น้ำยาปรับที่มีคุณภาพเท่านั้น
วิธีปรับค่า pH ในน้ำผสมธาตุอาหาร
- เตรียมน้ำเพื่อผสมธาตุอาหารและทำการวัดค่า pH ด้วยเครื่อง Bluelab pH meter เพื่อหาค่ากรด-ด่างของน้ำ
- ผสมธาตุอาหารที่ต้องการลงในน้ำที่เตรียมไว้
- วัดค่า pH ในน้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่ามีระดับที่ต้องการ (ผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารบางชนิดมีคุณสมบัติในการปรับค่า pH ในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่สามารถใช้แทนน้ำยาปรับโดยเฉพาะได้)
- ใช้น้ำยาปรับค่า pH ค่อย ๆ หยดลงในน้ำที่ผสมธาตุอาหารและวัดค่า ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ค่า pH ที่เหมาะสมกับชนิดของต้นไม้ที่ปลูก
- วัดค่า pH อีกครั้งเพื่อความแน่ใจก่อนที่จะนำไปใช้รดต้นไม้ต่อไป