Four Farm
Uncategorized

ทำความเข้าใจเรื่องค่าการนำไฟฟ้า (EC) + ค่าที่เหมาะกับการปลูกกัญชา

การวัดค่าการนำไฟฟ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างมีคุณภาพ และพี่หมีจะพานักปลูกไปทำความรู้จักกับองค์ความรู้นี้กันครับ

 

การนำไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารเป็นหน่วยการวัดการสุทธิของการดูดซึมธาตุอาหารโดยรวมของพืช เมื่อธาตุอาหารทำละลายกับน้ำแล้วจะเกิดการแบ่งตัวของไอออน ตัวอย่างเช่น โพแทสเซียมไนเตรททำละลายกลายเป็นโพแทสเซียมไอออนและไนเตรทไอออน โดยทั้งคู่จะมีประจุไฟฟ้าในตัวเอง (โพแทสเซียมมีค่าประจุบวกและไนเตรทจะเป็นลบ)

ไอออนจะเป็นตัวช่วยในการสร้างกระแสไฟฟ้าในน้ำ ยิ่งมีจำนวนไอออนมาก น้ำก็จะยิ่งสร้างกระแสไฟฟ้าได้ดีขึ้นเนื่องจากตัวของน้ำโดยลำพังแล้วไม่สามารถสร้างกระแสไฟเองได้ดีเท่าที่ควร

สิ่งที่ควรจำ: พืชจะสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อธาตุอาหารนั้นอยู่ในรูปของไอออน

 

EC ของธาตุอาหาร หน่วยวัด และการหาค่า 2

 

ดังนั้น การวัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำจึงเป็นวิธีที่ดีในการประเมินค่าความเข้มข้นของปุ๋ยธาตุอาหารที่นักปลูกเลือกใช้ และถึงแม้ว่าค่าดังกล่าวจะไม่สามารถเจาะจงระบุธาตุอาหารแต่ละชนิดได้ แต่ก็สามารถใช้วิเคราะห์และประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ธาตุอาหารในภาพรวมได้ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่นักปลูกควรจดบันทึกไว้

ค่าการนำไฟฟ้า (EC) มีความคล้ายกับค่ากรด-ด่าง (pH) ตรงที่พืชแต่ละชนิดมีค่า EC ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันไป ในภาพรวม ในกรณีที่ค่า EC ต่ำ นักปลูกสามารถคาดเดาได้ว่าพืชกำลังไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ในทางกลับกัน การที่มีค่า EC สูงเกินไป อาจเป็นสัญญาณความเสี่ยงของอาการรากไหม้หรือโคนเน่า อย่างไรก็ดี นักปลูกต้องอย่าลืมว่าค่า EC เป็นค่าของไอออนโดยรวม ซึ่งไม่สามารถจำแนกเป็นค่าของธาตุอาหารแต่ละชนิดได้

แม้ว่าจะมีเหมือนกันแต่ค่า EC ก็แตกต่างกับค่า pH ตรงที่หน่วยวัดของค่า EC จะมีความซับซ้อนมากกว่าเพราะยังไม่มีการตั้งหน่วยมาตรฐานสากล โดยหน่วยวัดที่ใช้ทั่วไปในวงการวิทยาศาสตร์คือมิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร (mS/cm2) แต่ยังมีทฤษฎีการวัดและแปลงค่าอื่น ๆ อย่างน้อย 4 แบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วไป ได้แก่ EC, CF, PPM 500 (TDS) และ PPM 700 เพราะฉะนั้นนักปลูกต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าหน่วยวัดในเครื่องมือที่ใช้กับหน่วยวัดขององค์กรที่ทำงานด้วยตรงกันหรือไม่เพื่อป้องกันปัญหาความเข้าใจผิดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 


หน่วยการวัดค่าการนำไฟฟ้า EC


แม้ว่าศัพท์ที่ใช้เรียกจะแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดกำลังพูดถึงเรื่องการนำไฟฟ้าและหน่วยวัดทั้งหมดสามารถแปลงค่าสลับไปมาได้โดยใช้หลักทางคณิตศาสตร์

 

 


ค่า EC ต้องวัดที่ไหน? 


 

 


วิธีการวัดค่า EC


วิธีที่สะดวกที่สุดในการหาค่านำไฟฟ้าคือการใช้เครื่องวัดดิจิตอลอ่านค่า EC จากในน้ำและวัสดุปลูก อย่างไรก็ดี ดินเป็นวัสดุปลูกที่ไม่ได้มีเนื้อเดียวกัน นั่นหมายความว่าการวัดห่างกันเพียงไม่กี่เซนติเมตรก็อาจจะทำให้ค่าที่ได้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นอีกมากมายที่ใช้ในการหาค่า EC ของดินและวัสดุปลูกอื่น ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือวิธีการสเลอรี่ (Slurry Method) เป็นการนำตัวอย่างดินมาผสมกับน้ำที่ผ่านการบำบัดจนเหนียว จากนั้นนำมาผ่านแผ่นกรองในปริมาณที่มากพอที่หัวของเครื่องตรวจต้องการและทำการอ่านค่า

หมายเหตุ: ค่า EC ที่ได้จากวิธีการสเลอรี่มักจะน้อยกว่าค่าของ EC ที่อยู่ในปุ๋ยหรือธาตุอาหาร หากใช้วิธีนี้ก็จำเป็นต้องยอมรับในความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้น

 


ค่า EC ในดินและวัสดุปลูกไร้ดิน


 

ปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลต่อระดับ EC ของธาตุอาหารได้

 

ตัวอย่าง: ในวันที่อากาศร้อน พืชจะดูดน้ำมากกว่าสารอาหารเพื่อเพิ่มระดับของการนำไฟฟ้า เพราะถ้าหากว่าพืชมีปริมาณของเกลือ (จากธาตุอาหาร) ในอวัยวะภายในมากเกินไป พืชก็จะเกิดอาการขาดน้ำ

ดินบางประเภท เช่น ดินโคลน มีความสามารถในการควบคุมไอออนในตัวเองและยับยั้งไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายของไอออนในปุ๋ยและไม่มีการสร้างไฟฟ้า ทำให้เมื่อมีการวัดค่า EC ตัวเลขที่ได้อาจจะน้อยกว่าค่าจริง

การเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาทั้งหมดสามารถเกิดได้รวดเร็ว จึงเป็นเรื่องดีถ้านักปลูกหมั่นตรวจวัดระดับค่า EC อยู่เสมอ เพราะการป้องกันนั้นง่ายและประหยัดทรัพยากรมากกว่าการแก้ไขแน่นอน แต่อย่าลืมว่าโดยปกติการวัดค่า EC จากวัสดุปลูกจะได้ค่าที่ต่ำกว่าค่าที่มีอยู่จริงในปุ๋ยเสมอ

 


ค่า EC ที่เหมาะกับการปลูกกัญชา


*หน่วยวัด PPM ไม่ใช่ EC

 


Fact File – สาระความรู้


หลายคนอาจจะคิดว่าเราไม่สามารถตรวจหาค่า EC จากธาตุอาหารออแกนิคได้เพราะผลที่ออกมานั้นเป็นตัวเลขที่น้อยเสมอ แต่ความจริงแล้วนั่นคือตัวเลขจริงซึ่งสะท้อนถึงข้อเท็จจริงที่ว่าพืชสามารถดูดปุ๋ยออแกนิคได้น้อย อาจเป็นเพราะตัวปุ๋ยยังไม่สามารถแตกตัวในรูปแบบไอออนได้ แต่ก็อาจจะหมายถึงว่าต้นไม้ได้ดูดธาตุอาหารไปแล้วก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดค่าที่ได้ก็บ่งบอกถึงการดูดซึมอาหารของพืชที่เป็นปัจจุบันเสมอ

พี่หมีขอย้ำอีกครั้งว่าค่า EC ไม่สามารถใช้ประเมินว่าต้นไม้ได้รับสารอาหารครบถ้วนและสมดุลหรือไม่นะครับ

 

Related posts

How To Discover The Finest Filipino Brides Online?

Smile Smile
3 years ago

ทำใช้เองที่บ้านง่ายๆ วิธีทำ ปุ๋ยหมักในกะละมัง ใช้แล้วได้ผลดีมาก

Smile Smile
3 years ago

An Update On Speedy Plans In Write My Narrative Essay

Smile Smile
3 years ago
Exit mobile version