Four Farm
นวัตกรรมการเกษตร

ทำไมต้อง ‘โดรน (เพื่อการเกษตร) ’?

❝อากาศยานไร้คนขับ❞  หรือ ❝โดรน❞  

      นั้นมีอีกชื่อนึงว่า UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วโดรนไม่ได้ใช้ในการ บันเทิงอย่างปัจจุบัน แต่จะใช้ในการทหาร ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้โดรนในการสอดแนมพื้นที่แวดล้อมของ ข้าศึก หรือการใช้เพื่อติดอาวุธเข้าไปถล่มศัตรูจากระยะไกล ซึ่งก็มีข้อดีก็คือไม่ต้องใช้คนจริงเข้า ไปในพื้นที่ซึ่งเสี่ยงอันตรายนั่นเอง

     ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จนมาถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีของโดรนได้ถูกพัฒนา ขึ้นมาเรื่อยๆ จนไม่ได้จำกัดแค่ในทางทหารเท่านั้น ในปัจจุบันโดรนถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้โดรนถ่ายรูป/ถ่ายวิดีโอจากมุมสูง ใช้ในการเกษตร หรือแม้กระทั่งใช้การขนส่งสินค้าที่ทาง google และ amazon กำลังพัฒนาให้สามารถ ส่งสินค้าไปยังบ้านคนซื้อได้ภายในรัศมีที่ทำการ

     สำหรับในปัจจุบันนั้น โดรนที่นิยมใช้กันในรูปแบบต่างๆนั้นก็คือ มัลติโรเตอร์หรือ มัลติคอปเตอร์ ที่เรียกอย่างนี้เพราะเป็นโดรนแบบใบพัด โดยแต่ละใบพัดก็มีมอเตอร์ของตัวเอง รูปร่างก็จะคล้ายๆเฮลิคอปเตอร์แต่ จะอาศัยใบพัดเยอะกว่า ที่นิยมกันก็จะเป็นแบบ 4 ใบพัด และ 6 ใบพัด ซึ่งมัลติคอปเตอร์นั้นก็มีข้อดีตรง              สามารถขึ้น – ลง ในแนวตั้งได้ ซึ่งเจ้าตัวมัลติโรเตอร์นี่เองที่เป็นพระเอกที่คนนำไปดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปใช้ งานตามที่ต้องการ เช่น

 

   ประเภทของโดรน 

  1. Quadcopter                                                                                                    โดรนประเภทนี้จะใช้ใบพัดในการขับเคลื่อนทั้งหมด 4 ตัว สังเกตง่ายๆ เลย ใบพัดจะอยู่ด้านบนของตัวโดนทั้ง 4 มุม ทำให้โดรนประเภทนี้มีกำลังขับเคลื่อนที่ดียิ่งขึ้น โดยเพราะการออกตัวจากพื้นที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเลี้ยวไปในทิศทางต่างๆ ก็สามารถที่จะทำได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณสามารถที่จะติดตั้งกล้องไปบนตัวของโดรนได้อีกด้วย
  2. GPS Drone                                                                                                                                    โดรนประเภทนี้ได้ติดตั้งระบบ GPS เอาไว้ เวลาคุณต้องการที่หาโดรนเมื่อสูญหายหรือพัดตกจากสถานการณ์ลมแรง สามารถค้นหาโดรนของคุณได้จาก GPS โดยใช้สัญญาณของดาวเทียม
  3. RTF Drone( Ready to Fly Drone )                                                                                  โดรนประเภทนี้สร้างขึ้นเพื่อมือใหม่ที่หัดเล่นหรือคนที่ชอบสะดวกสบาย แกะกล่องออกมา นำมาชาร์ทไฟให้เต็มก็สามารถออกไปบินได้ตามใจชอบแล้ว
  4. Trick Drone                                                                                                      ถูกออกแบบมาเพื่อคนที่หัดขับโดรนใหม่ๆ ได้ฝึกฝนเล่นท่า ไม่ว่าจะเป็นตีลังกา และทำทริคง่ายๆ โดยขนาดของโดนจะมีความเล็กกะทัดรัด โดยมีความกว้างไม่เกิน 5 เซนติเมตร บางยี่ห้อจะมีกล้องติดมาให้เราด้วย ซึ่งโดรนประเภทนี้ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพเลย เพราะกล้องที่มีขนาดเล็กทำให้เราได้ภาพแบบไม่คมชัดในระดับ HD
  5. Helicopter Drone                                                                                                                      โดรนแบบนี้จะใช้ใบพัดขับเคลื่อนเพียงแค่ใบเดียว ซึ่งดูคล้ายกับเฮลิคอปเตอร์มากๆ ซึ่งสามารถบินอยู่บนอากาศได้ยาวนานมากยิ่งขึ้น จุดด้อยคือ จะต้องคอยสังเกตตลอดเวลาตอนทำการบิน เพราะการเลี้ยวทิศทางทำได้ไม่ค่อยดีนัก
  6. Delivery Drone                                                                                                                          โดรนส่งของที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดรนประเภทนี้จะต้องใช้ควบคู่ไปกับสมอเทียบท่าหรือส่วนที่ไว้สำหรับบรรจุสิ่งของที่ต้องการจะส่งได้อย่างรวดเร็ว
  7. โดรนสำหรับถ่ายภาพนิ่ง                                                                                                              ใช้ในการภาพกลางอากาศมาพร้อมกับกล้อง HD ความละเอียดของภาพสูง ทำให้ภาพที่ออกมาคมชัดมากยิ่งขึ้น สามารถเชื่อมต่อ WIFI กับมือถือ เพื่อดูสิ่งที่อยู่ในกล้องได้อย่างง่ายดาย
  8. โดรนสำหรับแข่ง                                                                                                  เป็นโดรนที่ใช้ในการแข่งขัน ซึ่งโดรนประเภทนี้จะสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 30 – 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว
  9. โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน                                                                                    ดรนที่ใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน เป็นโดรนที่สามารถบินได้สูงมากกว่าโดรนที่ใช้แบตเตอร์รี่ แถมยังมีสมรรถนะมากกว่าแต่ก็ต้องแลกมากับความหนักและวิธีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น ต้องหมั่นตรวจสอบน้ำมันก่อนขึ้นบินทุกครั้ง
  10. โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมันไนโตร                                                                          โดรนประเภทนี้จะเหมือนกับโดรนน้ำมัน ซึ่งจะใช้น้ำมันไนโตรแทน มันมีส่วนผสมของไนโตรมิเทนและเมทานอล ช่วยทำให้มีกำลังเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขอเสีย น้ำมันไนโตรจะมีราคาค่อนข้างสูง
  11. โดรนแบบบินได้นาน                                                                                                                       โดรนชนิดนี้บินได้สูงถึง 400 ฟุต ทำงานได้หลายชั่วโมง เหมาะสำหรับกองทหารที่ต้องใช้โดรนในการสังเกตการณ์และเฝ้าระวังข้าศึก ซึ่งผู้ที่จะใช้โดรนนี้ได้ต้องขอใบอนุญาตเพื่อขึ้นบินเสียก่อน

 

 

  ประโยชน์ของโดรน

  1. ใช้ในการถ่ายภาพมุมสูง  โดยการนำกล้องมาติดที่ตัวโดรนเพื่อถ่ายรูปจากมุมมองแปลกๆ ใหม่ๆ และในมุมที่เราไม่สามารถถ่ายได้ด้วยตัวเอง ทำให้เห็นภาพมุมกว้างที่สวยงามแปลกตาและมีรายละเอียดครบครันยิ่งขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิว
  2. ใช้ในการถ่ายทอดสดต่างๆ  มีลักษณะการใช้งานคล้ายการติดกล้องเพื่อถ่ายรูป แต่เปลี่ยนมาเป็นกล้องวีดิโอเพื่อบันทึกภาพเคลื่อนไหวจากมุมต่างๆ แทน การใช้โดรนในลักษณะนี้ส่วนมากเราพบได้ในการถ่ายทอดกีฬาหรือคอนเสิร์ต เป็นต้น
  3. การใช้โดรนเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้าโดยมีบริษัทใหญ่เริ่มนำร่องการใช้งานโดรนเพื่อโลจิสติกส์คือ google และ amazon ซึ่งเทคโนโลยีนี้กำลังได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  4. ใช้โดรนเพื่อฉีดพ่นปุ๋ยและสารเคมีต่างๆในด้านการเกษตร เป็นการลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีโดยตรงของมนุษย์
  5. การใช้โดรนติดกล้องเพื่อสำรวจสภาพการจราจรและลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศต่างๆ
  6. การใช้โดรนในด้านความปลอดภัยและความมั่นคงโดยในระยะหลังโดรนสามารถใช้ร่วมกับการค้นหาผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ร้ายแรง เช่น ดินถล่ม หรือภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

  ❝ โดรนเพื่อการเกษตร  เทคโนโลยีใหม่สำหรับการประยุกต์ใช้งานในการทำเกษตร ….

     อย่างที่ได้กล่าวไป อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มีการใช้อย่างแพร่หลายในสายงานด้านอื่นๆ รวมถึงได้เข้ามามีบทบาทในการทำการเกษตรกรรม อย่างแม่นยำมากขึ้น (precision agriculture)  ซึ่งเป็นประโยชน์ และมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการทำการเกษตรในยุค 4.0  เนื่องจากในปัจจุบัน ประสบปัญหาด้านแรงงาน เนื่องจากแรงงานคนนั้นหายากมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลายด้าน  อีกทั้งประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมจากแรงงานคนในปัจจุบันยังต่ำอีกด้วย จึง มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร  เพื่อที่จะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและประสิทธิภาพของผลผลิต ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรมีคุณภาพและมีความแน่นอนในด้านของปริมาณ และยังช่วยในการควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย

ซึ่ง ตัวอย่างของการประยุกต์ใช้โดรนกับการเกษตรมีมากมาย เช่น

  1. การนำโดรนมาช่วยในการพ่นปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช ต่างๆ
  2. การนำโดรนมาช่วยในการถ่ายภาพพื้นที่เพาะปลูก เพื่อนำมาวางแผนการเพาะปลูกในฤดูนั้นๆ
  3. การนำโดรนมาช่วยในการหาแหล่งน้ำและเส้นทางคมนาคม ที่ใกล้เคียงกับแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร เพื่อนำมาวางแผนระบบการให้น้ำและระบบการขนส่งผลผลิตเมื่อพืชถึงฤดูการเก็บเกี่ยว
  4. การนำโดรนมาช่วยในการถ่ายภาพแสดงการเจริญเติบโตของพืชในแปลงที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน

     จะเห็นได้ว่าการประยุกต์และการพัฒนา ในการใช้โดรนกับการเกษตรนั้นสามารถทำได้เพิ่มเติมจากตัวอย่างอีกมากมาย ซึ่งการประยุกต์ใช้โดรนนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการทำเกษตรของเกษตรกรแต่ละรายที่แตกต่างกันไป

     เมื่อท่านทราบประโยชน์มากมายของโดรนเช่นนี้แล้ว ลองหันมาประยุกต์ใช้โดรน เพื่อการเกษตรในแปลงของท่านดูบ้างไหมคะ ?

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

Related posts

บทเรียนแห่งชีวิตจากการทำสวน

Kaset Pro
2 years ago

ไอเดียทำแปลงปลูกผัก จากของเหลือใช้ในบ้าน ใช้พื้นที่น้อย ประหยัดงบ

Smile Smile
5 years ago

ฮอร์โมนพืช ไม่ใช่ ปุ๋ย

Kaset Pro
2 years ago
Exit mobile version