อ้างอิงรูปภาพ : mgronline

     เพื่อการยกระดับเกษตรและผลักดันเกษตรกรไทย ให้ก้าวสู่เกษตรยุค 4.0 หรือการทำสมาร์ทฟาร์ม การคิดค้น“นวัตกรรมโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ” ของ “นายนริชพันธ์ เป็นผลดี” นักวิจัยของ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC: Thai Microelectronics Center) สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  คือหนึ่งส่วนในการขับเคลื่อน นวัตกรรมโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ เป็นการออกแบบโรงเรือนระบบปิดโดยระบบทำการควบคุมการจัดการโรงเรือนแบบอัตโนมัติมีรูปแบบเหมาะสมตามชนิดของพืชด้วยการนำเทคโนโลยีระบบอิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์ต่างๆ เข้ามาใช้กับภาคการเกษตรเพื่อช่วยลดปัญหาแรงงาน ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงเพิ่มคุณภาพผลผลิต และเซ็นเซอร์ จึงได้เป็นที่มาของระบบอัจฉริยะ ที่สามารถประเมินผลและควบคุมได้ด้วยตัวเอง ผ่านการส่งและรับข้อมูลต่างๆ จากการเชื่อมต่อเข้าหากัน หรือ IOT (Internet Of Things) และระบบ Hendy Sense (เฮนดี้ เซ้นส์) หรือเทคโนโลยีเซ็นเซอร์กับการควบคุมระบบการให้น้ำเพื่อการเกษตร เพื่อช่วยในการปรับสภาพแวดล้อมโรงเรือนให้เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก, ระบบการให้น้ำอัตโนมัติขึ้นกับค่าความชื้นในดินทำให้บริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบจะสามารถควบคุมบริหารจัดการการเพาะปลูกได้ทุกที่และทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน 

 

อ้างอิงรูปภาพ : สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร

     โดยกระบวนการการจัดการกระบวนการผลิต โรงเรือนจะทำการควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับพืช ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน และแสง เมื่อค่าต่างๆ สูง/ต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ ระบบจะปรับสภาพแวดล้อม ด้วยการออกแบบความสูงที่เหมาะสม ควบคุมการทำงานพัดลมดูดอากาศร้อนใต้หลังคา ระบบปรับลดอุณหภูมิให้กับพืช ปรับม่านบังแสงภายในโรงเรือน และระบบการให้น้ำในโรงเรือนแบบครบวงจร  ทั้งนี้ปรับสภาพในโรงเรือนโดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งแจ้งเตือนไปยังเกษตรกรผ่านโทรศัพท์มือถือ

     ทั้งนี้ ทำให้เกษตรกรคนรุ่นใหม่สามารถดูแลจัดการฟาร์มผ่านสมาร์ทโฟนได้ ทำให้เกษตรกรสามารถจัดการแปลงการผลิตได้ในทุกสถานที่และทุกเวลา อีกทั้งมีกลุ่มเกษตรกรนำระบบไปใช้งานจริงมากกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ  

     สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร กล่าวว่า ” นอกจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้จะตอบโจทย์การใช้งานได้จริงในการทำเกษตร ช่วยลดระยะเวลาและแรงงานแล้ว ยังส่งผลกระทบเชิงสังคมอีกด้วยในวันที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ “สังคมผู้สูงวัย”  ตอนนี้มีผู้สูงวัยมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีก็เป็นเครื่องทุ่นแรงให้กับผู้สูงวัย ทำให้ผู้สูงวัยที่อยากทำเกษตร สามารถทำได้ ไม่ต้องลงแรงมากนัก มีระบบแจ้งเตือนง่ายต่อการทำเกษตร แม่นยำ สร้างความมั่นใจในด้านผลผลิต สามารถบริหารจัดการโรงเรือนทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดการแปลงไปถึงการทำบัญชีรายรับรายจ่ายของโรงเรือน และยังสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ผู้สูงอายุได้ด้วย “

 

ข้อดีของการใช้ นวัตกรรมโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ

  1. สะดวกต่อการใช้งาน สามารถจัดการกับพื้นที่ทำการเกษตรได้ทุกที่ทุกเวลา
  2. ลดขั้นตอนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตร
  3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตรกรรม รวมถึงประสิทธิภาพผลผลิต
  4. เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ให้เกษตรกรคุ้มค่าต่อการลงทุน
  5. เพิ่มคุณภาพแก่ผลผลิต
  6. เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิต
  7. ลดปัญหาการคาดแขลนแรงงาน
  8. สร้างความมั่นใจในการได้รับผลผลิตของเกษตรกร
  9. ลดต้นทุนที่สูญเสียไปในขั้นตอนการผลิต

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง