พลังงาน ที่ใช้ในโลกส่วนมาก มาจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล (น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ) ซึ่งเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถหามาทดแทนได้ และหากพิจารณาดูจะทราบกันว่าประเทศไทยมีทางเลือกทางพลังงานน้อยมาก เนื่องจากภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเขื่อน ไม่มีพลังงานความร้อนใต้ภิภพ พลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนที่สูงซึ่งไม่คุ้มค่าแก่การลุงทุน ไม่มีลมหรือคลื่นทะเลแรงพอจะผลิตไฟฟ้า ฯลฯ โดยปัญหาพลังงานนั้นเป็นปัญหาระดับโลก จึงมีการแสวงหาแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือก
ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องศึกษาศักยภาพพืชพลังงานในประเทศ เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตก๊าซชีวภาพในอนาคต เพราะ โดยประเทศไทยข้อได้เปรียบเนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรม และตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ที่มีความพร้อมในการเพาะปลูกพืชพลังงานหลายชนิด ที่จะสามารถนำมาพัฒนาเป็นพลังงานทดแทน โดยพืชที่นำมาผลิตพลังงานทดแทนแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. พืชที่ให้น้ำมัน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ ถั่วลิสง งา ทานตะวัน ละหุ่ง ถั่วเหลือง มะพร้าว
2. พืชที่ให้แป้ง ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด มันสำปะหลัง
3. พืชที่ให้น้ำตาล ได้แก่ อ้อย และ แก่นทานตะวัน
4. พืชที่ให้เส้นใย เช่น ฟางข้าว ชานอ้อย ซังข้าวโพด รำข้าว เศษไม้ ขี้เลื่อย วัชพืช รวมทั้งเศษซากพืชที่เหลือจากการเกษตร เศษซากที่เหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ
โดยพืชที่เหมาะจะเป็นวัตถุดิบที่นำมาผลิตพลังงานทดแทนนั้น ขึ้นกับปัจจัย ดังนี้ วัตถุดิบต้องมีปริมาณมากเพียงพอต่อการผลิต หาได้ง่าย ราคาถูก และไม่กระทบต่อการผลิตอาหาร และต้องไม่มีผลเป็นพิษต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
จากการศึกษา ศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานในประเทศไทย พบว่ามีพืชไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ที่มีการคัดเลือกเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพที่เหมาะสมกับพืชพลังงาน และยังพัฒนาระบบต้นแบบให้สามารถขยายผลการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานในระดับที่สามารถใช้งานจริงได้ เพื่อช่วยส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานภายในประเทศให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขาดแคลนพลังงา และทดแทนการใช้พลังงานหลักในอนาคตได้
ประโยชน์ของการใช้พลังงานทดแทน จากพืชพลังงาน
- ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากประชากรไทยในประเทศหันมาใช้ผลผลิตทางธรรมชาติที่ผลอตได้เองภายในประเทศทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงต่างประเทศ
- การใช้พลังงานทดแทนช่วยลดมลพิษที่เกิดจากใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่ได้จากฟอสซิล อาทิ ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง
- ส่งผลให้ผลิตทางการเกษตรมีมูลค่าสูงขึ้น เนื่องจากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายขึ้น นอกเหนือจากใช้เป็นพืชอาหาร
- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเศษเหลือจากการผลิตพืชอาหาร อาทิ แกลบ และชานอ้อย สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน
- การใช้พืชน้ำมันมาผลิตเอธานอลก็จะมีปาล์มน้ำมันที่มีศักยภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับพืชอื่น
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพืชพลังงาน
นโยบายเกษตร
- การเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกด้วย เทคโนโลยี เช่น ระบบนํ้าหยด
- โครงการชะลอการเก็บเกี่ยว ด้วยการสนับสนุน สินเชื่อ
- การรวมกลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจ เพื่อรับซื้อแปรรูป ให้เกิดความเข้มแข็ง
- ยุทธศาสตร์ปาล์มนํ้ามันและนํ้ามันปาล์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขัน
นโยบายพลังงาน พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP 2015)
- กําหนดพื้นที่ (Zoning) เพื่อการส่งเสริมการปลูกพืชสําหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน
- ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการวัตถุดิบพลังงานทดแทนอย่างเป็นระบบ เช่น ระบบการขนส่ง
ระบบการผลิตแบบพันธสัญญา (Contract farming) - วิจัยพัฒนาวัถตุดิบทางเลือกผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่ไม่ใช่พืชอาหาร เช่น ข้าวฟ่างหวาน เซลลูโลส
และสาหร่าย เป็นต้น