Four Farm
นวัตกรรมการเกษตร

มาทำความรู้จัก ❝ อควาโปนิกส์ ❞ ให้มากขึ้น

   ❝ อควาโปนิกส์ (Aquaponics) 

➙  คือ การรวมระบบ ของการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชเข้าด้วยกัน เพื่อลดการสูญเสียน้ำอย่างสิ้นเปลือง ระบบเกษตรที่พึ่งพาซึ่งกันและกัน ระหว่างการปลาและปลูกผัก สามารถทำได้ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน

 

      ซึ่งในปัจจุบันทำได้โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชผัก สมุนไพรด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูงของนักวิจัยและผู้ปลูกพืชผัก เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลกในอนาคต ปัจจุบันอควาโปนิกส์ เปรียบเหมือนต้นแบบของการผลิตอาหารแบบยั่งยืน

      โดยยึดถือหลักการที่แน่นอน ดังนี้คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ของเสียของระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง สามารถผลิตสารอาหาให้ระบบชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม
  2. การรวมการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาเป็นผลของการผลิตแบบหลากหลาย (Polyculture) ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตแบบทวีคูณ เป็นระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน
  3. น้ำถูกกรองโดยผ่านการกรองทางชีววิธี และนำกลับมาใช้ซ้ำ
  4. เป็นการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพปราศจากสารเคมีสามารถผลิตได้ทั่วไป ช่วยยกระดับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นได้

     ในระบบอควาโปนิกส์ น้ำที่ออกจากการเลี้ยงปลาอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืช ซึ่งได้จากสิ่งปฏิกูลของปลาถูกนำมาใช้ในการให้ปุ๋ยกับระบบการปลูกพืชแบบ ไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับปลา เพราะรากพืชและจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณรากพืช จะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้จากน้ำในถังเลี้ยงปลา สารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีการผสมผสานกันหลายชนิดจากสิ่งปฏิกูลของปลา สาหร่ายและการย่อยสลายของอาหารปลา ซึ่งสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้จะทวีความเป็นพิษรุนแรงขึ้นในถังเลี้ยงปลา แต่สิ่งเหล่านี้ก็ทำหน้าที่แทนปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดโปรนิกส์

     ในทางกลับกันรางปลูกไฮโดรโปรนิกส์ทำหน้าที่เป็นระบบกรองแบบชีววิธี ซึ่งจะเปลี่ยนสารประกอบพวกแอมโมเนียให้กลายเป็นสารประกอบพวกไนไตรท์และไนเตรทตามลำดับ รวมถึงสารประกอบในกลุ่มพวกฟอสฟอรัส ทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอซึ่งจะถูกนำกลับมาใช้ในถังเลี้ยงปลา นอกจากนั้นยังพบว่าบักเตรีบางชนิด เช่น Nitrifying bacteria ที่เปลี่ยนแอมโมเนีย (NH3X) เป็นไนไตร์ (Nitrie) และไนเตรท (Nitrate) ที่อาศัยอยู่ในกรวดและอยู่ร่วมกับรากพืช สามารถแสดงบทบาทในวัฎจักรอาหาร ในกลุ่มของไนโตรเจนได้ ซึ่งถ้าปราศจุลินทรีย์เหล่านี้ระบบทั้งหมดจะหยุดทำงานทันที

    นักปลูกพืชและเกษตรกรได้พูดถึง อควาโปรนิกส์ได้หลายเหตุผล ดังนี้

  1. ผู้ปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ได้ให้มุมมองว่า สิ่งปฏิกูลขอปลาเปรียบเสมือนปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งทำให้พืชเจริญ
  2. ผู้เลี้ยงปลาได้ให้มุมมองว่า การกรองโดยชีววิธี ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าการเลี้ยงปลาในตู้เลี้ยงทั่วไป
  3. ผู้ปลูกพืช คิดว่า อควาโปนิกส์ เป็นวิธีที่จะผลิตผักไฮโดรโปนิกส์แบบอินทรีย์ สู่ตลาดที่มีความนิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะการผลิตแบบนี้ได้ปุ๋ยจากมูลปลาที่มีคุณค่าซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้อง หาธาตุอาหารให้กับการปลูกพืช
  4. สามารถผลิตได้ทั้งปลาและผักในเขตทุรกันดาร
  5. อควาโปนิกส์ เป็นต้นแบบที่สามารถทำงานได้จริงในการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยเป็นการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์รวมเข้าด้วยกัน มีการหมุนเวียนสารอาหารและการกรองน้ำร่วมกัน อควาโปนิกส์

      นอกจากเป็นกาประยุกต์ใช้เพื่อเชิงการค้า ยังเป็น  แนวคิดที่นิยมในการถ่ายทอดในเรื่องของการรวมระบบทางชีววิทยากับการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเรียนการสอนทางเทคโนโลยีของอควาโปนิกส์เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน ต้องการการจัดการและการตลาดของผลผลิตที่แตกต่างกันสองผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งปี 1980 ได้มีความพยายามอย่างมากที่จะผสมผสานไฮโดรโปนิกส์และการเลี้ยงปลาหรือสัตว์ น้ำ และในที่สุดได้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า อควาโปนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหารที่ปราศจากการปน เปื้อนของสารเคมี และเป็นการผลิตอย่างยั่งยืนไม่เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

 

ข้อดีและข้อจำกัด

 

     ข้อดี

  1. ลดการใช้น้ำ ลดการเกิดน้ำเสีย ในการเลี้ยงปลา และปลูกผักโดยปกติแล้วระบบ Aquaponics จะไม่มีการทิ้งน้ำเสียออกไปเลย มีแต่เติมน้ำเข้า อาจมีปล่อยน้ำเสียบ้างตอนที่คุมระบบไม่ได้ ต้องถ่ายน้ำออกป้องกันปลาตาย
    เรื่องการใช้น้ำนั้น บางเว็บบอกว่าใช้แค่ 1% ของการปลูกผักปกติ(อันนี้คงโม้) แต่ผมว่า ได้ 10%ก็หรูแล้ว ตัวเลขจริงน่าจะซัก 20-30%ของการปลูกปกติ
    หมายเหตุข้อมูลฟรั่งซึ่งหนาวกว่าบ้านเรา บ้านเราร้อนพืชคายน้ำมากกว่า จากการสังเกตุคิดว่า น้ำที่หายไปส่วนใหญ่พืชดูดไปใช้เกือบหมด (เปรียบเทียบการระเหยกับถังน้ำที่ตังไว้เฉย ๆ )
  2. ใช้เนื้อที่น้อย ให้อัตราผลผลิตต่อพื้นที่ดีกว่า เพราะพืชได้น้ำและสารอาหารตลอดเวลา เลี้ยงปลาได้หนาแน่น เพราะมีการบำบัดน้ำตลอดเวลา บางเว็บบอกว่าได้ผักถึงสิบเท่าของการปลูกแบบปกติในพื่นที่เท่ากัน แต่ผมว่าซักสองสามเท่าน่าจะพอได้ แล้วแต่ชนิดของผักด้วย
  3. สามารถปลูกใกล้แหล่งบริโภคได้ ไม่ต้องทำการขนส่งไกล เนื่องจากระบบที่ใช้น้ำและพื้นที่น้อย การผลิตใกล้แหล่งบริโภคทำให้ลดการขนส่ง และบริโภคได้สดกว่า เช่น ถ้าทำระบบในครัวเรื่อน ทำให้ไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องขับรถไปซื้อของสด ไม่ต้องแช่เย็น และกินได้อาหารสดกว่ามาก
  4. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากพื้นที่น้อยการลงทำโรงเรือนเพื่อป้องกันโรคแมลงทำได้ง่ายกว่า

 

  ข้อจำกัด

  1. ลงทุนสูง
  2. ต้องใช้พลังงานโดยเฉพาะไฟฟ้า
  3. ระบบที่เลี้ยงปลาหนาแน่นมาก อาจต้องมีระบบสำรองไฟฟ้า
  4. ต้องทำการเรียนรู้หลายอย่าง ในการดำเนินระบบ ต้องรู้จักพืช สัตว์ และงานช่างหลายแขนง (นี่อาจเป็นข้อดี เพราะมันสนุกมากเลย) สั้น ๆ คือทำยากกว่า ปลูกผัก หรือ เลี้ยงปลา เดี่ยว ๆ ในแง่การเรียนรู้ แต่ในแง่การเดินระบบ ถ้าศึกษาจนรู้แล้ว Aquaponics ทำงานได้ง่ายกว่าสะดวกกว่า
  5. ระบบเป็นการ ประณีประณอม ระหว่างการเลื้ยงสัตว์กับพืช ทำให้อาจได้ได้ผลผลิตมากอย่างระบบที่แยกกันผลิต โดยทั่วไป ผู้เลี้ยงจะต้องตัดสินใจว่า จะเน้นพืช หรือ ปลา จะเอาทั้งสองอย่างเป็นเรื่องยาก
  6. กำจัดโรคแมลงยากกว่า เช่นถ้าปลาเป็นโรค ถ้าเลี้ยงปลาอย่างเดียวให้ยาฆ่าเชื้อได้เลย แต่ระบบนี้ทำไม่ได้ เพราะระบบแอควาโปนิกส์ต้องการจุลินทรีย์ในการเปลี่ยนของเสีย

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

Related posts

เผย ! เทคนิควิธีปลูกผักปลอดสารเคมี

admin
6 years ago

สมุนไพรช่วยลดอาการไอ จากฝุ่นละออง PM 2.5

admin
5 years ago

การขอให้มีการส่งเสริมการปลูกฝิ่นอย่างถูกกฎหมายเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์

Kaset Pro
2 years ago
Exit mobile version