เมื่อเราทำการปลูกพริก อาการที่จะพบเห็นได้อยู่บ่อยๆคืออาการที่พริกมีใบที่หงิกงอ ที่มักมีสาเหตุหลักเกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟและไรขาว ที่ทำให้ต้นพริกที่เราปลูกหยุดการเจริญเติบโต แสดงอาการใบหงิกงอ ต้นแคระ ใบร่วง ผลพริกมีรูปร่างผิดแปลก และติดผลน้อย
สังเกตุอาการได้จาก
1.ถ้าเกิดจากเพลี้ยไฟเข้าทำลาย กระบวนการเกิดจากเพลี้ยไฟจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบพริก ผลที่ตามมาทำใบพริกหงิก มีขนาดเล็กลง บริเวณขอบใบม้วนงอขึ้นด้านบนอาการรุนแรงปลายใบแห้งใบม้วนขึ้น ก้านใบหรือเนื้อใบด้านล่างมีรอยด้านสีน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเกิดขึ้นบนใบ สีของใบพริกเหลือง กรอบ หลุดร่วงง่าย พริกที่กำลังออกดอกจะทำให้ดอกร่วง กำลังติดผลทำให้ฝักบิดงอ
2.ถ้าเกิดจากไรขาว ในระยะแรกที่เกิดโรคใบจะไม่เรียบ ใบอ่อนที่ยอดจะเล็กเรียวแหลม ก้านใบยาว หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านมาสักระยะ ขอบใบของพริกจะม้วนลงด้านล่าง ใบอ่อนส่วนยอดจะหงิกเป็นฝอยและสีน้ำตาลแดง ต้นแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตชะงักการออกดอก
โดยช่วงเวลาในการแพร่ระบาด
– เพลี้ยไฟ จะเจริญเติบโตและแพร่ระบาดช่วงอากาศร้อนและแล้ง
– ไรขาว จะเจริญเติบโตและแพร่ระบาดในฤดูฝน เมื่อสภาพอากาศเย็นและชื้น
การป้องกันกำจัด
1. การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ
– เพิ่มความชื้นให้สภาพแวดล้อมด้วยการใช้สปริงเกิลพ่นน้ำเป็นฝอยในหน้าแล้งเป็นระยะ ไม่ให้
– หยุดการระบาดด้วยฟิโปรนิล คาร์บาริล คาร์โบซัลแฟน หรืออิมิดาคลอพริด
– ใช้ขี้เถ้า (ได้จากเตาถ่านหุงข้าวหรือขี้เถ้าจากการเผาไหม้เศษพืช) โรยที่ใบของต้นพริกเว้นระยะเวลาโรย 2 วันต่อครั้งประมาณ 2-3ครั้ง
2. การป้องกันกำจัดไรขาว
– ตัดแต่งพุ่มให้อากาศถ่ายเท และแดดส่องถึงพื้นดิน เพื่อลดความชื้น
– หยุดการระบาดด้วยอามีทราซ หรือฟิโปรนิล
– ใช้กัมมะถันผงฉีดพ่นเป็นระยะทุก5-7วัน
– ใช้น้ำส้มสายชู1ช้อน น้ำยาล้างจาน1ช้อน มีไฮเตอร์ก็หยดลงไป3-5หยด ผสมนำ้ 10ลิตร ฉีดพ่น (กรณีมีการระบาดไม่มาก)
– เชื้อราบิเวอเรีย ฉีดพ่น
– ใช้ขี้เถ้า (ได้จากเตาถ่านหุงข้าวหรือขี้เถ้าจากการเผาไหม้เศษพืช) โรยที่ใบของต้นพริกเว้นระยะเวลาโรย 2 วันต่อครั้งประมาณ 2-3ครั้ง
3. การป้องกันเพลี้ยไฟ และไรขาวทำได้โดย
– ก่อนปลูกพืชหรือหลังเก็บผลผลิต ทำการวิเคราะห์ดินเพื่อทำการปรับสภาพดิน ให้เหมาะสมและทำการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด
– เว้นระยะต้น และระยะแถวให้เหมาะสม เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดีและได้รับแสงแดดส่องถึงอย่างเหมาะสม
– เร่งทางระบายน้ำออกจากแปลงได้ทันทีเมื่อมีน้ำท่วมขัง
Related posts