Four Farm
เกษตรสร้างอาชีพ

วิธีการปลูก ”เพาะเห็ดฟางในตะกร้า” ปลูกขาย รายได้ดีมาก

คนไทยรู้จักกับเห็ดมาเป็นเวลานานและหลายคนก็นิยมบริโภค โดยเห็ดนั้นนอกจากเอามาทำอาหารได้หลากหลายแล้ว ยังถือเป็นส่วนสำคัญใน เมนูสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเห็ดฟางที่ถือว่าเพาะขึ้นได้ง่าย สามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล อีกทั้งราคาของเห็ดฟางก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก โดยราคาของเห็ดฟางจะดีมากในฤดูหนาวและช่วงเทศกาลกินเจ

แต่สิ่งที่นอกเหนือจากการตลาดและราคาดูเหมือนว่าที่ทำให้ถูกใจเกษตรกรมากขึ้นคือระยะเวลาในการเก็บผลผลิตที่สามารถเก็บไปขายได้ภายใน 7-12 วัน ถือเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีวงจรการผลิตสั้นมากจึงสร้างรายได้สม่ำเสมอให้กับผู้ลงทุนอย่างดีทั้งนี้ในส่วนของการเพาะนั้นมีทั้งแบบธรรมดาและเชิงพาณิชย์และการเริ่มต้นเรื่องนี้ที่ดีที่สุดนั้นคือเริ่มจากการเพาะในรูปแบบง่ายๆที่ได้ประโยชน์เต็มที่เช่นกัน วันนี้ทางเพจ วิชาชีวิต ขอนำเสนอ 8 ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตระกร้าที่ใช้พื้นที่น้อย และลงทุนไม่สูง

วัสดุอุปกรณ์ต่างๆก็หาง่ายมีอยู่รอบตัวเรา ถ้าผิดพลาดก็ถือว่าเป็นการลองผิดลองถูก เพิ่มประสบการณ์ชีวิต แต่ถ้าผลผลิตออกมาดีเกินที่คาดเอาไว้ ก็แสดงว่ามีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากขึ้นรวมถึงการเริ่มต้นแบบง่ายๆแล้วไปได้ดีก็มีสิทธิ์ต่อยอดไปสู่การเพาะที่เป็นแบบอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย

วิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

เริ่มจากการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ ก้อนเชื้อเห็ดฟาง ตะกร้าพลาสติก ฟางข้าว สุ่มไก่หรือโครงโรงเรือน พลาสติก วัสดุพลางแสง อาหารเสริมของเห็ดเช่นแป้งสาลี หรือผักตบชวา เมื่อเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยก็เริ่มทำการเพาะได้เลย

1.ทุบก้อนเชื้อเห็ดฟางในถุงให้แตกพอประมาณแต่ไม่ต้องให้ถึงกับละเอียด นำมาผสมกับแป้งสาลี 1 ช้อนชา จากนั้นแบ่งก้อนเชื้อเห็ดฟางออกเป็น 2 กอง กองละเท่าๆกัน สามารถเพาะเห็ดฟางได้ ประมาณ 2 ตะกร้า

2. ให้ใส่ฟางข้าวที่ผ่านการแช่น้ำไว้แล้ว 1 คืน ลงไปในตะกร้า ให้ฟางข้าวมีความสูงจากก้นตะกร้าประมาณ 2-3 นิ้ว กดให้พอแน่น

3.โรยอาหารเสริมลงไป จะเป็นผักตบชวาที่หั่นไว้หรือรำละเอียดก็ได้ โรยลงไปรอบๆบนฟางข้าว แต่อย่าใส่อาหารเสริมมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้

4.นำเชื้อเห็ดฟางมาโรยรอบๆทับไปบนอาหารเสริม โดยเน้นโรยที่ช่องของตะกร้า ถึงตอนนี้เราจะได้เป็น ชั้นที่ 1 เรียบร้อย (1ตะกร้าจะต้องทำ 3 ชั้น)

5.ทำชั้นที่ 2 และ 3 ด้วยวิธีการเดิมแบบข้างต้น จากนั้นปิดชั้นที่ 3 ด้วยฟางข้าว แล้วรดน้ำใส่ตะกร้าให้เปียกชุ่ม (ถึงตอนนี้เราก็จะได้ตะกร้าเพาะเห็ดฟาง 1 ตะกร้าเป็นที่เรียบร้อย)

6.นำตะกร้าเห็ดฟางไปวางไว้บนพื้นที่ที่เราเตรียมไว้ วางไว้บนเหนือพื้นดินประมาณ 3-4นิ้ว (นำก้อนอิฐมาวางรองเป็นฐานอย่าให้ติดพื้น)

7.จากนั้นก็นำโครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่มาครอบตะกร้า

8.นำพลาสติกมาคลุมโครงหรือสุ่มจากด้านบนถึงพื้นให้มิดชิดจากนั้นก็คุมด้วยวัสดุพลางอีกที

ขั้นตอนดูแลเห็ดฟางในตะกร้า

1.รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้อยู่ที่ประมาณ 30 – 40 องศา

2.วันที่ 4 ช่วงตอนเย็นให้เปิดพลาสติกที่คลุมออกเพื่อให้อากาศเข้าไปกระตุ้นเส้นใยใช้เวลาเปิดรับอากาศประมาณ 30 นาที

3.วันที่ 5 และ 6 ในช่วงตอนเย็น ให้เปิดพลาสติกที่คลุมสุ่มพอประมาณ ให้อากาศถ่ายเทใช้เวลาประมาณ 15 นาที จากนั้นก็คลุมพลาสติกให้มิดชิดเหมือนเดิม

4.วันที่ 7 ช่วงนี้เห็ดฟางจะเจริญเติบโตขึ้น สามารถเก็บผลผลิตได้ในวันที่ 8-9

5.การเก็บเห็ดฟางควรเก็บด้วยความนุ่มนวลอย่าให้บอบช้ำ จากนั้นก็นำส่งขายที่ตลาดหรือนำไปบริโภคได้เลย

ต้นทุนในการเริ่มต้นและรายได้จากการเก็บเห็ดจำหน่ายในการเพาะแบบตะกร้านี้ถือเป็นต้นทุนที่น้อยมากบางคนที่มีวัสดุอุปกรณ์อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องหาใหม่ซื้อก้อนเห็ดฟางที่มีจำหน่ายราคาก็ตามแต่สถานที่ ในกรณีที่ไม่ได้เพาะแบบสร้างโรงเรือนก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะเห็ดฟางในตะกร้านี้ในแต่ละตระกร้าจะเก็บเห็ดได้ 2-3 รุ่น ซึ่งแต่ละตระกร้าจะได้น้ำหนักเห็ดประมาณ 1 กิโลกรัม

โดยราคาจำหน่ายจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 บาทแล้วแต่ช่วงของตลาดขึ้นอยู่กับฤดูกาลและความนิยม โดยช่องทางการขายนนั้นมีทั้งคนมาติดต่อขอซื้อถึงที่ฟาร์ม หรือจะขายในตลาดส่ง ส่งจำหน่ายตามโมเดิร์นเทรด หรือถ้ามีปริมาณมากหรือรับซื้อจากคนปลูกในบริเวณใกล้เคียงก็สามารถวิ่งรถไปส่งได้ที่ตลาดไท ถือเป็นการสร้างรายได้ที่ดีอย่างยิ่ง

เกษตรกรบางรายที่ปลูกเห็ดฟางเชิงธุรกิจอาจจะใช้พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ซึ่งก็ทำให้มีรายได้กว่าเดือนละ 50,000 บาทซึ่งก็ถือว่าเป็นการลงทุนด้านการเกษตรที่น่าสนใจหรือคนที่อยู่ในกรุงเทพฯเองก็สามารถใช้วิธีการเพาะเห็ดในตระกร้าเพาะในคอนโดหรือห้องพักเป็นการหารายได้เสริมที่ดีอีกทางหนึ่งเช่นกัน

 

Related posts

“ฝรั่งไส้แดงชมพูพันธุ์ทิพย์” ทนแล้ง ปลูกได้ทุกสภาพดิน

admin
6 years ago

บอกวิธีการปลูก ”เพาะเห็ดฟางในตะกร้า” ปลูกง่าย โตไว รายได้ดี

Smile Smile
4 years ago

การปลูกพืชไร้ดิน หรือ ไฮโดรโปนิกส์

Kaset Pro
2 years ago
Exit mobile version