วิธีปลูก คื่นฉ่าย ฉบับจับมือทำ !

คื่นฉ่าย เป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย มีให้เก็บกินได้ตลอดทั้งปี เป็นผักในตระกูลเดียวกันกับผักชีที่ให้ใบ และก้านใบ สำหรับรับประทานสด น้ำผัก หรือนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นหอมเย็น สามารถดับกลิ่นคาวปลา คาวเนื้อได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา ช่วยลดความดันโลหิต ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด เหมาะสำหรับคนเป็นโรคไต เพราะเป็นผักที่มีโซเดียมน้อย และยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก คื่นฉ่าย แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

  • คื่นฉ่ายไม่ชอบอากาศร้อนจัด ควรทำที่บังแสงแดดในระยะแรก
  • สามารถปลูกได้ในทุกฤดู

การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ

ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้นและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจน เพราะเมล็ดที่ดี ย่อมให้ผลผลิตที่ดีเช่นกัน เช่น คื่นฉ่ายนวลจันทร์ ตราศรแดง , คื่นฉ่าย ราชพฤกษ์ ตราต้นไผ่ , คื่นฉ่ายฉัตรทอง ตราตะวันต้นกล้า  หรือ คื่นฉ่ายซุปเปอร์โพธิ์ทอง ตราเจียไต๋ เป็นต้น หลังจากได้เมล็ดพันธุ์แล้วนั้น ให้นำไปผสมกับทรายละเอียดเนื่องจากเมล็ดพันธุ์มีขนาดเล็ดมาก ในอัตราส่วน 1: 3 เพื่อทำการปลูก

การเตรียมดิน

  • ยกร่องหรือทำแปลงธรรมดา ประมาณ 1-2 เมตร
  • ไถหน้าดินประมาณ 2-3 นิ้ว ตากแดดไว้ประมาณ 5-10 วัน
  • หว่านปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลง ประมาณ 1000 กก./ไร่ แนะนำเป็น ขี้ไก่แกรบ หลังจากนั้นตีกับดินให้ละเอียดจนดินฟู

การเพาะกล้า

                คื่นช่ายไม่นิยมปลูกแบบเพราะกล้า เพราะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เกษตรจึงมักทำการปลูกแบบหว่านมากกว่า

การปลูกคื่นช่าย

  • รดน้ำแปลงปลูกพอหมาดก่อนการทำการปลูก 1 วัน
  • ทำการหว่านเมล็ดที่เตรียมไว้ให้ทั่ว ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม / ไร่
  • คลุมด้วยฟางบางๆแล้วรดน้ำตามให้ชุ่ม

การดูแลรักษา

การให้น้ำ

                ควรให้น้ำอย่างต่อเนื่องเช้า-เย็นโดยเฉพาะหลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ไปแล้วประมาณ 10-14 วัน เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ ถ้าดินแห้งและแตกจะทำให้รากหรือใบแห้งตายได้ และไม่ควรรดน้ำแปลงปลูกในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด

การใส่ปุ๋ย

ในการใส่ปุ๋ยครั้งแรกนั้นให้ใส่เมื่อคื่นฉ่ายมีอายุ 1-2 อาทิตย์ โดยปุ๋ยที่ใส่นั้นคือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 หว่านบางๆทั่วแปลงปลูกปริมาณ 30-50 กิโลกรัม / ไร่ ทุกๆ 10 -15 วัน และนอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยปุ๋ยไนโตรเจนเสริมในอัตรา 10-20 กิโลกรัม / ไร่ โดยเริ่มใส่เมื่อกล้ามีอายุได้ 10-15 วัน แบ่งใส่ 2 ครั้ง โดยใส่แบบหว่านเช่นกัน

การเก็บเกี่ยวคื่นช่าย

                ในการเก็บเกี่บเกี่ยวนั้นจะใช้วิธีการถอน โดยดึงต้นคื่นฉ่ายออกมา แกะใบเหลืองออก หลังจากนั้นเขย่าให้ดินที่ติดอยู่กับรากออกมา แนะนำให้เก็บตอนช่วงเช้าตรู่

โรคคื่นฉ่าย

โรคใบจุดไหม้

ใบจุดไหม้คื่นฉ่ายสาเหตุ แบคทีเรีย Pseudomonas s vringae pv. apii

ลักษณะอาการ  ใบจะมีจุดเล็กๆ สีเหลืองสดขึ้นก่อน แล้วค่อยขยายโตขึ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลพร้อมกับเกิดวงแหวนสีเหลืองซีดรอบ จุดแผลโดยทั่วๆ ไปจะมีลักษณะกลม แต่ก็มีบางจุดมีรูปร่างเป็นเหลี่ยมทำให้เกิดอาการเหลืองแล้วแห้งตายทั้งต้น

การป้องกันกำจัด

  • นำเมล็ดแช่นํ้าอุ่น 49-50 องศาเซลเซียส นาน. 30  นาที ก่อนนำไปปลูก
  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ทำลายเศษซากพืช รวมทั้งที่งอกขึ้นมาเองหลังเก็บเกี่ยว
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Triazole เช่น  เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น

โรคต้นเหลือง

โรคต้นเหลืองฉ่ายสาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. apii

ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลเล็กๆ สีเหลืองขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นกลายเป็นแผลสีนํ้าตาลซีดออกเหลือง หรือเทาส่วนขอบจะมีสีดำ หรือคลํ้าเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นจุดดำเล็กๆ ขึ้นทั่วไปตอนกลางๆ ของแผล อาจมีผลทำให้ส่วนของเนื้อใบที่เหลือ เหลืองแห้งตายทั้งใบ

การป้องกันกำจัด

  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ทำลายพืชที่ติดเชื้อให้หมด
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป (ฮัมบรูก) (โปรมาเซบ 80) หรือ โพรพิเนบ (แอนทาโคล) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ (ฟังกูราน) เป็นต้น

 

โรคต้นและใบไหม้

โรคต้นและใบไหม้คื่นฉ่ายสาเหตุ เชื้อรา Septoria apii และ Septoria apii graveolentis

ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลเล็กๆ สีเหลืองขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นกลายเป็นแผลสีนํ้าตาลซีดออกเหลือง หรือเทาส่วนขอบจะมีสีดำ หรือคลํ้าเล็กน้อย จากนั้นจะเป็นจุดดำเล็กๆ ขึ้นทั่วไปตอนกลางๆ ของแผล อาจมีผลทำให้ส่วนของเนื้อใบที่เหลือ เหลืองแห้งตายทั้งใบ

การป้องกันกำจัด

  • นำเมล็ดแช่นํ้าอุ่น 49-50 องษาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ก่อนนำไปปลูก
  • ปลูกพืชหมุนเวียน
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dimethyldithiocarbamate เช่น ไทแรม (ไธอะโนซาน) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น  เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม cinnamic acid เช่น  ไดเมโทมอร์ฟ (ฟอรัม) เป็นต้น

โรคก้านใบแตก

โรคก้านใบแตกคื่นฉ่ายสาเหตุ การขาดธาตุโบรอน

ลักษณะอาการ เกิดรอยแยกขึ้นที่ผิวของก้านใบตามขวางเป็นขีดๆ หรือเส้นเล็กๆ ยาวประมาณ 2-3 มม. เปลือกหรือผิวที่แตกออกจะม้วนงอกสับไปข้างหลัง เมื่อรุนแรงเกิดเป็นแผลสีน้ำตาลขึ้นแทน ขนาดขยายโตและยาวขึ้นแต่ก็จะเป็นตามขวางกับก้านใบเช่นเดิม ยังอาจแสดงอาการอื่นๆ อีก เช่น รากไม่สมบูรณ์เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ปลายกุด ขอบใบไหม้ ก้านแข็ง เปราะหักง่ายและมีรสขม

การป้องกันกำจัด

  • ใช้อาหารเสริมพืช ประเภทโบรอน เช่น ไวกิ้ง(แคลเซียมโบรอน) , นูริช หรือ สิงห์โกลด์ เป็นต้น

 

แมลงศัตรูพืช

ไรแดง

ไรแดงลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้น ส่งผลให้ใบเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และสีเงิน ตามลำดับ

แนวทางการป้องกันกำจัด

  • หากพบการระบาด ให้ฉีดน้ำไปที่ใบเป็นประจำ
  • ให้ทำลายต้นหรือกิ่งที่พบว่ามีไรแดงอยู่
  • นำยาสูบ (ยาฉุน) จำนวน 2 ขีด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ให้มันเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำยาสูบ เสร็จแล้วเทกาแฟดำ จำนวน 500 กรัม ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน แล้วนำกะทิ จำนวน 1 กล่อง (250 ซีซี ผสมลงไป แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีด ในอัตรา 1 กระป๋องกาแฟ ผสมน้ำ 20 ลิตร
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Amidine เช่น อะมิทราซ (อะไมทิช) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส (เปเป้) เป็นต้น
  • ใช้ สารจับใบ (เอส 995) ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ

แมลงหวี่ขาวยาสูบ

แมลงหวี่ขาวยาสูบลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์

แนวทางการป้องกันกำจัด

  • นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น
  • ใช้ สารจับใบ (เอส 995) ฉีดพ่นเพื่อไล่พาหะ

แมลงหวี่ขาวใยเกลียวแมลงหวี่ขาวใยเกลียวลักษณะการทำลาย เป็นพาหะนำโรคไวรัส ทำให้ใบพริกหงิกงอ ต้นแคระเกร็นไม่สมบูรณ์

แนวทางการป้องกันกำจัด

  • นำแผ่นพลาสติกคลุมแปลงเพื่อไล่แมลง ลดการระบาดของพาหะ
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์) เป็นต้น
  • ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี), ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ไบรด้า) เป็นต้น