วิธีปลูก ถั่วพลู ฉบับจับมือทำ
ถั่วพลูเป็นพืชที่นิยมปลูกเป็น ผักสวนครัว แต่สำหรับการปลูกเพื่อทำเป็นการค้า จะนิยมปลูกเพื่อ 3 จุดประสงค์ คือ ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์(ขยายพันธุ์) ปลูกเพื่อเก็บฝักอ่อนขาย และปลูกเพื่อเก็บหัวขาย ถั่วพูยังเป็นพืชที่นิยมปลูกเป็นพืชคลุมดิน เมื่อถั่วพลูออกดอกจะไถกลบลงดิน ในรากของถั่วพลูมี ไนโตรเจน สูงมาก ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพืชชั้นดี
แหล่งที่ปลูก
- อุณหภูมิในแถบ เอเชีย เหมาะสมต่อการปลูก ถั่วพลู จึงไม่ต้องกังวลเรื่องนี้
- ดินร่วนปนทราย ซึ่งเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี
- ค่า PH เป็นกลาง หรือ 6 – 7
- ควรได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
- ต้องการน้ำมาก
การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ
- การเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ ควรซื้อจากร้านที่น่าเชื่อถือ มีการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ถูกต้อง ซึ่ง ถั่วพลูมีอยู่ไม่กี่สายพันธุ์ เนื่องจากเป็นเมล็ดผสมเปิดหรือop(สามารถหากความรู้เพิ่มเติม เรื่อง เมล็ดพันธุ์ผัก op ต่างกับ เมล็ดพันธุ์ผัก F1 อย่างไร ได้ที่นี่) จึงไม่ค่อยมีความแตกต่างกันทางผลผลิตมาก กระผมจึงแนะนำให้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บเมล็ดอย่างถูกวิธี ปราศจากโรคและแมลง เช่น เมล็ดพันธุ์ถั่วพลู กำแพงแสน ตราศรแดง และ เมล็ดพันธุ์ถั่วพลู ตรางอบทอง เป็นต้น
- แช่เมล็ดก่อนลงปลูกด้วยน้ำอุ่น ประมาณ 1 คิน จากนั้นบ่มทิ้งไว้ จนเมล็ดรากเริ่มงอก จึงนำลงปลูก (วิธีนี้จะช่วยให้เมล็ดขึ้นเร็ว และงอกสม่ำเสมอ)
การเตรียมดิน
ไถพรวนดิน หลังจากนั้นตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ เพื่อกำจัด วัชพืช โรค ไข่ และตัวอ่อนของแมลง ในดิน และใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก 2 – 3 ต้น/ไร่ เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
การปลูกถั่วพลู
วิธีการปลูก
-
วิธีการปลูกแบบเพาะกล้า
นำดินเพาะปลูกใส่ในถาด หรือถุงเพาะชำ และหยอดเมล็ดลงในถาดหรือถุงเพาะที่เตรียมไว้ ถาดหรือถุงละ 3 – 5 เมล็ด จากนั้นรดน้ำ วันละ 1 – 2 ครั้ง ดูแลจนครบ 15 วัน จึงย้ายกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ซึ่งจำเป็นต้องยกร่องสำหรับป้องกันน้ำท่วม ความกว้างของร่องประมาณ 30 ซม. และความสูงประมาณ 20 ซม. บนร่องหลุมทำหลุมปลูกระยะห่าง ระหว่างหลุมประมาณ 60 – 120 ซม. และระยะห่างแถว 1 – 2 เมตร 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยรองพื้น สูตรเสมอ เช่น 16 – 16 – 16 เป็นต้น
-
วิธีการปลูกแบบหยอดเมล็ดโดยตรง
การเตรียมหลุมปลูกจำเป็นต้องยกร่องเช่นกัน ความกว้างของร่องประมาณ 30 ซม. และความสูงประมาณ 20 ซม. บนร่องหลุมทำหลุมปลูกระยะห่าง ระหว่างหลุมประมาณ 60 – 120 ซม. และระยะห่างแถว 1 – 2 เมตร 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยรองพื้น สูตรเสมอ เช่น 16 – 16 – 16 เป็นต้น เช่นเดียวกับวิธีเพาะกล้า
การดูแลแลรักษา
การให้น้ำ
รดน้ำวันละ 1 – 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความชื้นในดิน แต่ควรระวังการรดน้ำในช่วงเย็น อาจทำให้ถั่วพลูชื้นและเกิดโรคได้ ในทางกลับกันหากถั่วพลูขาดน้ำ ก็อาจทำให้ผลผลิตหดสั้นเช่นเดียวกัน
การใสปุ๋ย
แบ่งได้ทั้งหมด 3 ช่วงอายุ
- ระยะแรก ใส่ปุ๋ยที่เน้นตัวหน้าสูง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เช่น สูตร 25-7-7 หรือ สูตรเสมอ เป็นต้น
- ระยะถั่วพลูเริ่มแทงช่อดอก(ประมาณ 60 วัน) ใส่ปุ๋ยที่เน้นตัวกลางสูง เพื่อบำรุงดอก เช่น 8 -24 -24 เป็นต้น ทุกๆ 15 วัน
- ระยะถั่วพลูให้ผลผลิต ใส่ปุ๋ยที่เน้นตัวกลาง และตัวหลังสูง เพื่อบำรุงทั้งดอกที่เพิ่งแทงใหม่ และเพิ่มน้ำหนักผล สร้างแป้งไปพร้อมๆกัน เช่น 8 – 24 -24 หรือ 13 -13 -21 เป็นต้น ทุกๆ 15 วัน
การทำค้าง
ถั่วพลูสามารถปลูกได้ทั้งแบบค้าง และไร้ค้าง แต่หากปลูกแบบค้างจะให้ผลผลิตที่ดีกว่า และค้างที่นิยมใช้ คือ ค้างแบบซุ้ม โดยสามารถหากความรู้เพิ่มเติม เรื่อง วิธีทำค้างผัก ได้ที่นี่
วิธีการเก็บเกี่ยว
- เก็บฝักอ่อน อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 70 – 100 วัน หลังปลูก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 2 เดือน ต้นจะเหี่ยวลง เมื่อรดน้ำใส่ปุ๋ย เหง้าจะเจริญขึ้นและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีกครั้ง
- เก็บหัว หัวจะเริ่มงอกให้เห็นเมื่อ ถั่วพลู อายุประมาณ 2 เดือน
ต้นทุนการผลิต แตงโมต่อพื้นที่ 1 ไร่
- ค่าเมล็ดพันธุ์ 330
- ค่าเตรียมดิน 2500
- ค่าปุ๋ย 2400
- ค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช 900
- ค่าอื่นๆ เช่น ไม้ปักค้าง ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 430
ผลตอบแทน
2000 กก./ไร่ x ราคาขาย 25 บาท/กก. รวมรายได้ประมาณ 50000 บาท/ไร่
โรคของถั่วพลู
โรคราสนิม
สาเหตุ เชื้อรา Uromyces fabae Pers
ลักษณะอาการ ใต้ใบถั่วฝักยาวจะมีจุดขนาดเล็กสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิม จะเกิดกับใบล่างๆของลำต้นก่อน เมื่เกิดอาการรุนแรงจะทำให้ใบร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น ไดฟีโนโคนาโซล(อลิซ) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile เช่น คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dimethyldithiocarbamate เช่น ไทแรม(ไธอะโนซาน) เป็นต้น
โรคใบจุด
สาเหตุ เชื้อรา Cercospora sp.
การแพร่ระบาด แพร่ระบาดไปกับลมและฝน
ลักษณะอาการ มีแผลเป็นจุดสีน้ำตาล บริเวณกลางแผลมีสีเทา ในอาการที่รุนแรงใบถั่วฝักยาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
การป้องกันกำจัด
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม triazole เช่น เตตระโคนาโซล(ดูมาร์ค) หรือ ไดฟีโนโคนาโซล(สกอร์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Inorganic เช่น คอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์(ฟังกูราน) หรือ ซัลเฟอร์(ไมโครไธออล กำมะถันเนื้อทอง) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Chloronitrile เช่น คลอโรทาโลนิล(ลีนิล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Strobilurin เช่น อะซอกซีสโตรบิน(อมิสตา) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Benzimidazole เช่น คาร์เบนดาซิม(อาเค่น) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Alkylenebis เช่น แมนโคเซป(ฮัมบรูก) หรือ โพรพิเนบ(แอนทาโคล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Dimethyldithiocarbamate เช่น ไทแรม(ไธอะโนซาน) เป็นต้น
แมลงศัตรูพืชของถั่วพลู
หนอนกระทู้ผัก
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินใบ ก้านใบหรือเข้าทำลายหัวปลี ทำลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่
แนวทางการป้องกันกำจัด
- เก็บไข่และตัวหนอนไปทำลาย
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethoid เช่น ไซเพอร์เมทริน (ฮุค) หรือ เดลทาเมทริน (เดซิส) เป็นต้น
- ใช้ (ยาฆ่าแมลงจากธรรมชาติ)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเมกติน (ต็อดติ) หรือ อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Oxadiazine เช่น อินดอกซาคาร์บ (แอมเมท) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Arylpyrrole เช่น คลอร์ฟีนาเพอร์ หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์(แรมเพจ) เป็นต้น
เพลี้ยอ่อน
ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงของยอดและฝักถั่วฝักยาว ทำให้ลำต้นแคระ ฝักมีขนาดเล็กลง
การป้องกันกำจัด
- กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก – ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส), เพอร์เมธริน, เรสเมธริน, หรือ ไบโอเรสเมธริน เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) หรือ คลอร์ไพริฟอส(อูดิ) เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีสาร คลอไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน(เดอะ เดครัส)
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ฉีดพ่นสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น สะเดา ผสมกับน้ำผงซักฟอกเจือจาง
เพลี้ยไฟ
วิธีการป้องกัน
- อย่าให้พืชขาดน้ำ เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอ
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม carbamate เช่น คาร์โบซัลแฟน(พอส) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม spinosyn เช่น สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Pyrethroid เช่น ไซเพอร์เมทริน(ฮุค),เดลทาเมทริน(เดซิส), เพอร์เมธริน, เรสเมธริน, หรือ ไบโอเรสเมธริน เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม phenylpyrazole เช่น ฟิโพรนิล(แอสเซนด์) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Organophosphate เช่น โพรฟีโนฟอส(เปเป้) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Avermectin เช่น อะบาเม็กติน(ต็อดติ), อิมาเม็กตินเบนโซเอต(เดอะฮัก) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีในกลุ่ม Neonicotinoid เช่น ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี) , ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) หรือ อิมิดาโคลพริด(ฟาเดีย) เป็นต้น
- ใช้สารเคมีประเภทสารจับใบ