Four Farm
พืชผัก

วิธีปลูก ผักกาดขาว ฉบับจับมือทำ

วิธีปลูก ผักกาดขาว ฉบับจับมือทำ !

          ผักกาดขาวเป็นผักอายุปีเดียว มีระบบรากตื้น ใบมีลักษณะห่อปลียาวหรืออาจห่อหลวมๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ใบมีสีขาวถึงสีเขียวอ่อน   ผักกาดขาว นับเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย ใช้บริโภคคือ ส่วนของใบ ซึ่งมีลักษณะเป็นผืนเดียวกันตลอด สามารถบริโภคได้ทั้งแบบสดและนำไปประกอบอาหาร ตลอดจนเป็นผักที่ใช้ในอุตสาหกรรมรูปอื่นๆ อีก ซึ่งทางเราได้เรียบเรียง วิธีปลูก ผักกาดขาว แบบสั้นๆเข้าใจง่ายไว้ในบทความนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจปลูก          

แหล่งปลูกที่เหมาะสม

การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ

ในการเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ควรเลือกเมล็ดพันธุ์จากผู้จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ บรรจุอยู่ในภาชนะที่ป้องกันความชื้อและอากาศ มีการระบุข้อมูลต่างๆไว้อย่างชัดเจน เช่น ผักกาดขาวปลี กาญจนา , ผักกาดขาวปลี เฮฟวี่ ตราเจียไต๋,  ผักกาดขาว บิ๊กเอ็ม ตราไก่, ผักกาดขาว ท็อปเท็น ตราเทวดา หรือ ผักกาดขาว โชกุน ตราศรแดง เป็นต้น

การเตรียมดิน

การเพาะกล้า

การเพาะกล้าผักกาดขาวนั้นเป็นการประหยัดเมล็ดพันธุ์ นิยมใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง

การปลูกผักกาดขาว

การปลูกโดยการเพาะกล้า

การปลูกโดยการหว่าน สำหรับการปลูกโดยการหว่านนั้น เหมาะสำหรับเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาถูก คือ ผักกาดขาวใหญ่และผักกาดขาวธรรมดา

การดูแลรักษา

การรดน้ำ

เนื่องจากผักกาดขาวเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำสม่ำเสมอ ในระยะแรกควรให้น้ำวันละ 3-4 ครั้ง เมื่อผักกาดขาวมีอายุเกิน 7 วันไปแล้ว ลดลงเหลือให้วันละ 3 ครั้ง เมื่ออายุเกิน 1 เดือนขึ้นไป ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ไม่ควรให้น้ำในเวลาที่แดดจัดเพราะน้ำอาจร้อนทำให้ผักกาดขาว ซึ่งบางเสียหายได้ง่าย ในช่วงผักกาดขาวกำลังห่อปลีไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การห่อปลีและการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์

การใส่ปุ๋ย

ควรให้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซียมในอัตรา 2:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 20-10-10 หรือสูตรใกล้เคียง โดยให้ในอัตราประมาณ 80-150 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่เมื่อผักกาดขาวมีอายุ 20 วัน

การเก็บเกี่ยว

อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดขาวนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  เช่น ผักกาดขาวปลี กาญจนา มีอายุเก็บเกี่ยว 38-40 วัน หลังหยอดเมล็ด หรือ ผักกาดขาว บิ๊กเอ็ม ตราไก่ มี อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-55 วัน หลังจากหยอดเมล็ด เป็นต้น  การเก็บเกี่ยวนั้นใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น แล้วตัดแต่งใบที่เป็นโรคถูกแมลงทำลายออก แต่ยังคงเหลือใบนอกๆไว้ประมาณ 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระแทก

โรคในผักกาดขาว

โรคเหี่ยวของผักกาดขาว

โรคเหี่ยวของผักกาดขาว

สาเหตุ เชื้อรา Fusarium oxysporum

ลักษณะอาการ  มีใบล่างเหี่ยวแห้งซีกใดซีกหนึ่ง ทำให้ใบเบี้ยวงอไปข้างที่ใบเหี่ยวต่อมาใบทางซีกนั้นจะเหียวเพิ่มขึ้นและเหี่ยวทั่วต้นในเวลาต่อมา เมื่อถอนดูรากจะขาดหลุดจากลำต้นเพราะผุเปื่อยเป็นสีน้ำตาล ผักกาดขาวที่ปลูกในสภาพดินเหนียวและดินทรายมักพบโรคนี้มาก

การป้องกันกำจัด

โรคเน่าคอดิน

สาเหตุ เชื้อรา Pythium sp. เกิดเฉพาะในแปลงเพาะกล้าเท่านั้น

ลักษณะอาการ มี แผลช้ำที่โคนต้นระดับดิน เนื้อเยื่อตรงแผลเน่าและแห้งไปอย่างรวดเร็ว ถ้าถูกแสงแดดทำให้ต้นกล้าหักพับ ต้นจะเหี่ยวแห้งตายในเวลารวดเร็ว

การป้องกันกำจัด

 

โรคใบด่างของผักกาดขาว

สาเหตุ เชื้อไวรัส Turnip mosaic มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ

ลักษณะอาการ ใบด่างเขียวสลับเขียวเหลืองแคระแกร็น ใบมีขนาดเล็กลง ตามบริเวณเส้นใบจะพบเป็นสีม่วงปะปนอยู่ เมื่อรุนแรงขึ้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเหลืองทั้งใบ และมีลักษณะบิดงอเล็กน้อย

การป้องกันกำจัด

กำจัดเพลี้ยอ่อนที่เป็นแมลงพาหะ

 

แมลงศัตรูพืช

เพลี้ยอ่อน

ลักษณะการทำลาย ดูดกินน้ำเลี้ยงของส่วนยอด ใบอ่อน ใบแก่และช่อดอก ยอดและใบจะหงิกงอ เมื่อเพลี้ยอ่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พืชก็จะเหี่ยว ใบมีสีเหลืองและร่วงหล่นลำต้นแคระแกร็น

การป้องกันกำจัด

หนอนกระทู้ผัก

ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินใบ ก้านใบหรือเข้าทำลายหัวปลี ทำลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่

แนวทางการป้องกันกำจัด

Related posts

โมโรเฮยะ (ผักพระราชา) ผักที่มากด้วยคุณค่า

admin
6 years ago

การใส่ปุ๋ยเคมีให้ตรงกับความต้องการของพืช เพื่อลดต้นทุนการผลิต

Kaset Pro
2 years ago

กระเทียมบ่มดำ สารพัดคุณประโยชน์ ยกระดับกระเทียมไทย

admin
6 years ago
Exit mobile version