ปัจจุบันเทรนการรักสุขภาพของคนไทยเป็นที่นิยมอย่างมาก ทั้งการออกกำลังกาย การใช้ชีวิต รวมถึงการทานอาหารด้วย ซึ่งกระบวนการปรุงอาหารนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเลือกใช้วัตถุดิบมาปรุงอาหารนั้ันล้วนส่งผลต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ไม่่วาจะเป็น น้ำปลา น้ำตาล หรือเครื่องปรุงรสต่างๆ วันนี้เราจึงมีสารให้ความหวานจากธรรมชาติมาแนะนำ เป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณน้ำตาลในร่างกาย สารนั้นได้มาจาก หญ้าหวาน แต่วิธีการปลูกจะทำได้อย่างไร มีสรรพคุณอะไรบ้าง ไปดูเลย
หญ้าหวาน เป็นพืชในวงศ์ดาวกระจาย (Asteraceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Steviea rebaudiana Bertoni และมีชื่อสามัญว่า Sweeetleaf หรือ Sugarleaf เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ต้นเป็นพุ่มสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลำต้นเล็ก ใบเดี่ยวรูปใบหอกกลับออกตรงข้ามกัน ปลายแหลม ขอบใบหยัก ออกเวียน ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็กๆ จำนวนมาก สีขาว ผลเป็นฝักแห้ง มีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลจำนวนมาก
วิธีการปลูก
หญ้าหวานมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาใต้ แถบบราซิลและปารากวัย ซึ่งมีอากาศค่อนข้างเย็น หญ้าหวานเติบโตได้ดีบนพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย สำหรับการขยายพันธุ์ สามารถทำได้ทั้งเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง แต่นิยมใช้วิธีปักชำกิ่งเริ่มจาก
- เตรียมภาชนะปลูก เส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร ใส่ดินร่วนระบายน้ำลงในภาชนะให้มีความสูง 2/3 รดน้ำให้พอชื้น
- ตัดกิ่งที่ค่อนข้างแก่ ความยาว 10-15 เซนติเมตร มี 2-3 ข้อลิดใบให้เหลือ 2-3 ใบ
- ปักชำกิ่งลงในดินที่เตรียมไว้ ให้ข้อใบส่วนล่างสุดจมลงดิน รดน้ำให้พอชื้น วางในที่ที่มีแสงแดดรำไร
- ประมาณ 10-14 วัน จะเริ่มแตกรากตามข้อและแตกใบใหม่ เมื่อต้นแข็งแรง รากเจริญออกจากก้นกระถาง จึงย้ายปลูกลงแปลง หรือในกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
สรรพคุณของหญ้าหวาน
- สมุนไพรหญ้าหวานช่วยเพิ่มกำลังวังชา
- ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
- ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ช่วยลดไขมันในเลือดสูง
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
- ช่วยบำรุงตับ
- ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก
ประโยชน์ของหญ้าหวาน
- ช่วยเพิ่มการรับประทานอาหารและช่วยลดความขมในอาหารได้
- ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
- หญ้าหวานทางเลือกของคนอ้วน ให้ความหวานเหมือนน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงาน รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จึงช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
- มีการนำหญ้าหวานไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ โดยปัจจุบันนิยมบริโภคหญ้าหวานอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ใบอบแห้ง, ใบแห้งบดสำหรับชงแบบสำเร็จรูป (ชาหญ้าหวาน), ใบสด, ใบแห้งบดสำหรับใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานผง), และแบบสารสกัดจากใบแห้งด้วยน้ำ โดยจะนิยมนำมาชงเป็นชาดื่ม รองลงมาก็คือ การนำมาต้มและเคี้ยว แต่จะไม่ค่อยนิยมนำมาบริโภคในแบบผสมกับอาหารเท่าใดนัก
- มีการนำสารสกัดจากหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาล หรือใช้ทดแทนน้ำตาลบางส่วน เพราะสารสตีวิโอไซด์นั้นมีความทนทานต่อกรดและความร้อนได้เป็นอย่างดี จึงสามารถนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ขนมเบเกอรี แยม เยลลี ไอศกรีม ลูกอม หมากฝรั่ง ซอสปรุงรส ฯลฯ (ล่าสุดได้ยินมาว่าเครื่องดื่มแบรนด์ดังอย่างโคคา โคล่า ก็ได้มีจดสิทธิบัตรและได้ทำการผลิตโดยใช้สารสกัดนี้แล้วเหมือนกัน แต่ยังไม่เห็นจำหน่ายในไทย ซึ่งถ้ามีมาเมื่อไหร่ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่อยากดื่มน้ำตาลเป็นซอง ๆ)
- ในอุตสาหกรรมอาหาร สารสกัดจากหญ้าหวานถือว่ามีข้อดีหลายอย่าง เช่น การไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เมื่อนำมาใช้กับอาหารจึงไม่ทำให้อาหารเกิดเน่าบูด ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูง ๆ และที่สำคัญก็คือ จะไม่ถูกดูดซึมในระบบย่อยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคหัวใจ
- สารสตีวิโอไซด์ นอกจากจะใช้ในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปใช้แทนน้ำตาลในการผลิตยาสีฟันอีกด้วย
แหล่งที่มา
ขอขอบคุณ : เส้นทางเศรษฐี / medthai / puechkaset / haijai
Related posts