หากพูดถึงสินค้าเกษตรในปัจจุบันแล้วนั้น คงหนีไม่พ้นปัญหาของราคาที่ตกต่ำ สินค้าไม่ได้คุณภาพหรือแม้กระทั่งสินค้าล้นตลาด แล้วถ้าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับเกษตรกรควรทำอย่างไร ?? จะต้องล้มเลิกการทำเกษตร กรือจะยอมขาดทุนไปเลยหรือไม่?? วันนี้เราจึงมีวิธีมาแนะนำ วิธีนั้นคือ การขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)

 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) หมายถึง การที่ชุมชนอาศัยลักษณะเฉพาะของพื้นที่ที่ตนอยู่ไม่ว่าจะเป็นสภาพดิน ฟ้า อากาศ วัตถุดิบที่มีในพื้นที่รวมไปถึงภูมิปัญญาที่สร้างสมสืบทอดกันมาในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูก หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ผลิตเป็นสินค้าที่มีคุณลักษณะพิเศษ ต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตในแหล่งอื่น ซึ่งช่วยในการเพิ่มราคาและความน่าเชื่อถือด้านคุณภาพให้กับเกษตรกร ทำให้สินค้าของเกษตรกรเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรมีเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยการขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) สามารถเข้าไปติดต่อสอบถามได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา

สินค้าที่สามารถขึ้นทะเบียนขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)

  1. สินค้าเกษตร
  2. สินค้าหัตถกรรม
  3. สินค้าอุตสาหกรรม (สินค้าเกษตรแปรรูป)

ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนหรือผู้มีสิทธิขอใช้

1.ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียน

1.1 ส่วนราชการ ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีเขตการรับผิดชอบครอบคลุมบริเวณภูมิศาสตร์

1.2 ผู้ประกอบการ บุคคล กลุ่มบุคคล นิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ใช้ขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)

1.3 กลุ่มผู้บริโภคสินค้า

2. ผู้มีสิทธิขอใช้

2.1 ผู้ผลิตสินค้า ซึ่งต้องอยู่ในเขตภูมิศาสตร์

2.2 ผู้ประกอบการค้า ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าและเขตภูมิศาสตร์

กระบวนการขอขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)

แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ

1. ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)

1.1 พิจารณา ถึงลักษณะของสินค้าในชุมชน ว่ามีคุณภาพ เอกลักษณ์พิเศษเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์หรือไม่

1.2 รวมกลุ่มของเกษตรกร และติดต่อหน่วยราชการท้องถิ่นให้สนับสนุน เพื่อให้สะดวกต่อการขึ้นทะเบียนและสร้างระบบการควบคุม

1.3 ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

2. ขั้นตอนการขออนุญาติใช้ตราสัญลักษณ์ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) ไทย

2.1 สร้างระบบควบคุม เพื่อควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ และรักษามาตรฐานของสินค้า

2.2 ยื่นรายชื่อผู้ขอใช้ตราสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)  ยื่นรายชื่อสมาชิกกลุ่มที่สามารถรักษาคุณภาพสินค้า GI ตามข้อตกลงร่วมกันต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

2.3 ประกาศอนุญาติใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI) โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ประโยชน์ของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications : GI)

  1. คุ้มครองชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน
  2. ส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมรากหญ้า หรือ SMEs
  3. เพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็นเครื่องมือการตลาด
  4. ดูแลรักษามาตรฐานของสินค้าและรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น
  5. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพิ่มความสามัคคี เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
  6. สนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชนผู้ผลิตอย่างยั่งยืน
  7. สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งที่มาแลัคุณภาพของตัวสินค้าให้กับผู้ซื้อ
  8. ก้าวสู่ระดับสากลได้รับการสนับสนุนการจดทะเบียนในระดับต่างประเทศ

ตัวอย่างสินค้าที่ได้รับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications : GI)

  1. ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นข้าวเจ้าพื้นเมือง พันธุ์เบา ข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ปลูกฤดูนาปี ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง                                                                     ที่มารูปภาพ : smilerice
  2. กาแฟดอยตุง ที่ผลิตจากผลกาแฟสดพันธุ์อาราบิก้า ที่ปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง เทือกเขานางนอน จ.เชียงราย ที่ระดับความสูง 800 – 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล                                                           ที่มารูปภาพ : thebangkokinsight
  3. ผ้าไหมยกดอกลำพูน เป็นผ้าไหมที่ทอยกลวดลายให้สูวกว่าผืนผ้าโดยการ เลือกยกเส้นบางข่มเส้นบางเพื่อให้เกิดลวดลาย โดยใช้ตะกอลอยใช้เส้นไหมตีเกลียวเป็นทั้งเส้นยืนและเส้นพุ่ง มีเส้นไหมเพิ่มพิเศษในการทอยกให้เกิดลวดลายตามกรรมวิธีที่ปราณีต เป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสืบกันมา                                                                ที่มารูปภาพ : เชียงใหม่นิวส์

 

 

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ : กรมการข้าว / วิธีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์