การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านเกษตรกรรม ได้เริ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่แล้วก็พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงแต่ละขั้นมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อหลายล้านครัวเรือน และกระบวนการการพัฒนาประสิทธิภาพด้านเกกษตรกรรม นี้ยังคงดำเนินอยู่ทั่วโลก โดยเฉพาะการเกษตรประเทศไทยไทยประสบปัญหาหลายด้านโดยเฉพาะมิติผลิตภาพ หรือคุณภาพในการผลิตอยู่ในเกณฑ์ไม่สูง รายได้เกษตรกรต่ำ เนื่องจากขาดความรู้ที่เพียงพอสำหรับการทำเกษตร ขาดข้อมูลเชิงลึกด้านการตลาดสำหรับวางแผนการผลิต รวมทั้ง การผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพ
อ้างอิงรูปภาพ ; vote4halloran
ในการจัดการการผลิตในด้านภาคเกษตรกรรม จึงเป็นประเด็นที่สำคัญในการยกระดับในด้านประสิทธิภาพด้านเกษตรกรรม การจัดการการผลิตในปัจจุบันควรคำนึงถึงการจัดการทรัพยากร การใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสม การใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเพื่อควบคุมการผลิต และการติดตามสภาพอากาศ แนวทางเกษตรแม่นยำ (Precision agriculture) เป็นการจัดการใช้ทรัพยากรโดยแบ่งเป็นพื้นที่ย่อยในพื้นที่จำกัดและเหมาะสมกับพืช เพื่อให้การดูแลการผลิตมีประสิทธิภาพและ แม่นยำในการจัดการผลิตเกษตรกรรมผสมผสาน
แนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่แม่นยำสูงด้วยเทคโนโลยีและการจัดการผลิตภาคเกษตรตามแนวคิดเกษตรปราดเปรื่อง (smart farm) ที่การจัดการการผลิตตั้งแต่กระบวนการวางแผนการผลิตด้วยข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การผลิตที่มีความ ปลอดภัย และการตลาดเพื่อจำหน่ายผลผลิตภาคเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดเกษตรปราดเปรื่องจึง เป็นการจัดการเกษตรสมัยใหม่เพื่อยกระดับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อ ความยั่งยืนของไทยในอนาคต
เกษตรแม่นยำเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคสารสนเทศกับการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตร โดยระบบการจัดการพืชแบบผสมผสาน ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดในพื้นที่ปลูกขนาดเล็ก การตัดสินใจเพื่อกำหนดการผลิตต้องพิจารณาถึงประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม ใช้ข้อมูลการวิเคราะห์เพื่อการจัดการจากเทคโนโลยีระบบพื้นฐาน ประกอบด้วย GPS (Global positioning system) ระบบเซนเซอร์ (Remote sensing) GIS (Geographic information system) การประยุกต์ใช้งานในการทำเกษตรได้แก่ ระบบติดตามผลผลิตอย่างต่อเนื่อง การวัดสารอาหารและความชื้นในดินการสุ่มตัวอย่ างดินเพื่อสร้างแผนที่สารอาหาร ( map of nutrient) ในดิน การจัดการข้อมูลที่ประกอบด้วยผลผลิต แผนที่ลักษณะดิน ปริมาณสารอาหารในดิน และการจัดการเกษตร Climate Smart agriculture (CSA) เป็นการพัฒนาการเกษตรโดยมีนโยบายการพัฒนาที่เน้นการใช้เทคนิคการเพาะปลูก ที่ส่งผลกับการเพิ่มผลผลิต ลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และลดการปล่อยมลพิษก๊าซเรือนกระจก
อ้างอิงรูปภาพ : marketingoops
หลักการการทำเกษตรสมัยใหม่
- การใช้นวัตกรรม การวิจัย และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มาปรับใช้
- การทำเกษตรแบบแม่นยำ คือ การเปลี่ยนทรัพยากร (Input) ไปเป็นผลผลิต (Output) ด้วยต้นทุนต่ำที่สุด เกิดของเสียน้อยที่สุด โดยการออกแบบกิจกรรมต่างๆ ให้มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ ตามสารสนเทศที่มี เพื่อให้เหมาะสำหรับ “พื้นที่ย่อยๆ” ให้ดีที่สุด ทำโดยสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความหมายของ สมาร์ทฟาร์มเมอร์ หรือเกษตรปราดเปรื่อง หรือเกษตรกรมืออาชีพ หมายถึง บุคคลที่มีความ ภูมิใจในการเป็นเกษตรกร มีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตรแต่ละสาขา ใช้ข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจและวิเคราะห์เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิตและการตลาด
- ควบคุมปัจจัยผันแปร เช่น ดิน น้ำ สภาพอากาศ
- การใช้เครื่องจักรกลเกษตร และใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ
- การรวมกลุ่มการผลิต
- มีมาตรฐาน มีการบันทึกข้อูล ตรวจสอบย้อนกลับได้ เทียบเคียงคุณภาพได้กับต่างประเทศ
การผลิต ภาคเกษตรของไทยเป็นรากฐานสำคัญต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจของไทย เป็นแหล่งผลิต อาหารที่สำคัญของโลก จึงนำแนวคิดการเกษตรแนวเกษตรปราดเปรื่อง (Smart Farm) การจัดการผลิตภาคเกษตรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศเพื่อใช้ตัดสินใจการวางแผนการผลิตภาคเกษตร ผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณเพียงพอ คุณภาพและมีความปลอดภัยต่อ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม