จุลินทรีย์ หัวใจหลักของการย่อยวัตถุอินทรีย์  มีบทบาทสำคัญในการทำเกษตรอินทรีย์
       ที่จะช่วยทำให้ดินร่วนซุย ช่วยสลายวัตถุอินทรีย์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ตรึงไนโตเจน ปรับสมดุลให้ดิน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช ฯ และประโยชน์อีกมากมายมหาศาล

จุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำเกษตร 4 ชนิด
1.จุลินทรีย์อีเอ็ม EM (Effective Microorganisms)
2.จุลินทรีย์หน่อกล้วย
3.จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
4.จุลินทรีย์จาวปลวก

1. จุลินทรีย์อีเอ็ม EM (Effective Microorganisms)                                                                  

  • หลักการทำงาน : หัวเชื้อ EM จะย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
    พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย
  • ประโยชน์ :                                                                                                                                            – ช่วยให้พืชผักเจริญเติบโตดี
    – ป้องกันความเสียหายจากโรคและแมลง
    – ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด- เป็นด่างในดิน
    – ทำให้สภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำ และให้อากาศอย่างเหมาะสม

2.จุลินทรีย์หน่อกล้วย

 

  • หลักการทำงาน : จุลินทรีย์หน่อกล้วยจะทำให้ดินร่วนซุยครับทำงานร่วมกับปุ๋ยชนิดต่าง ๆ
    และช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เร็วขึ้น
  • ประโยชน์ :
    – ช่วยในการปรับสภาพของดิน
    – กระตุ้นให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เจริญเติบโตและเพิ่มจ้านวนอย่างมาก
    – ช่วยให้ดินโปร่ง และย่อยสลายอินทรีย์สารได้เร็วขึ้น

3.จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  • หลักการทำงาน : เกี่ยวข้องในกระบวนการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ (CO⑵ – assimilation)
    และการตรึงไนไตรเจนฯ (nitrogen fixation)
  • ประโยชน์ :
    – ช่วยตรึง เพิ่ม ไนโตรเจนให้กับพืช
    – ช่วยกำจัดแก็สไฮโดรเจนซัลไฟล์ ในดินจากกระบวนการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ที่เป็นพิษต่อรากพืช
    – ทำให้พืชโตเร็วขึ้น โดยการเพิ่มแร่ธาตุในดินและย่อยสลายแร่ธาตุในดินให้เล็กลงอยู่ในสภาพที่พืชนำมาใช้ได้

 

4.จุลินทรีย์จาวปลวก

  • หลักการทำงาน : ในจาวปลวกนั้นมีแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Bacillus sereus SPt245
    ที่มีส่วนช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก
  • ประโยชน์ :                                                                                                                                           — นำไปใช้เป็นตัวช่วยย่อยสลาย เศษผักใบไม้ต่างๆ
    – เร่งผักผลไม้ ให้ออกดอกออกผล
    – ช่วยลดความรุนแรงของโรคที่ระบบราก

 

 

 

 

แหล่งที่มา

ขอขอบคุณ : organicfarmthailand