Four Farm
นวัตกรรมการเกษตร

❝ Plant factory ❞ คืออะไร ? ทำไมเกษตรกรต้องรู้

      Plant factory ❞ หรือ ❝ โรงงาน (ผลิต) พืช 

     ➙ ป็ระบบการปลูกพืชที่ควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง  อุณหภูมิ ความชื้น คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหาร  เพื่อให้สามารถผลิตพืชได้ปริมาณมาก ปลูกได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่มีฤดูกาล มีคุณภาพ สะอาดและปลอดภัยแน่นอน

     การปลูกด้วยระบบนี้ เป็นการต่อยอด มาจากการปลูกแบบ Greenhouse ที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ระดับนึง แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพดินเสื่อมโทรม มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกมาก  สภาพเมืองขยายตัว แรงงานขาดแคลน  จึงต้องพัฒนาให้ปลูกพืชให้ได้ปริมาณมากๆ ในปัจจัยที่มีจำกัด  ซึ่งเริ่มจะเป็น Global Trend

     ประเทศที่มีปลูกด้วยระบบนี้จำนวนมากได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น  ส่วนประเทศอื่นๆ ในโลกก็เริ่มพัฒนาระบบนี้มาเช่นกัน  ทั้งยุโรป อเมริกา สิงคโปร์  ด้วยการพัฒนาที่ไม่หยุด ปัจจุบันสามารถผลิตผักได้มากกว่าปลูกบนดินถึง 100-300 เท่า แต่ใช้พื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน 10% ใช้น้ำเพียง 1% ใช้แรงงานเพียง 1% ที่สำคัญผักที่ได้ไม่มียาฆ่าแมลง/กำจัดศัตรูพืช

      จากเดิมที่เราทราบว่าประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นเกาะ ไม่เหมาะการทำกสิกรรมมากนัก   ต้องนำเข้าสินค้าเกษตรเป็นหลัก ต่อไปประเทศเหล่านี้อาจจะส่งออกสินค้าเกษตรก็เป็นได้

 

★ Plant factory แยกเป็น 2 ประเภทหลักๆ

  1. ระบบปิดแบบใช้แสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงประดิษฐ์                                                            
  2. ระบบผสมผสาน (Hybrid)   เช่น ระบบใช้แสงประดิษฐ์ร่วมกับแสงจากดวงอาทิตย์ หรือ ระบบไม่ปิดสมบูรณ์มีการถ่ายเทอากาศจากภายนอก เป็นต้น

 

 

 

ข้อดีและข้อจำกัด ของโรงงาน (ผลิต) พืช

     

     ข้อดี

  1. สามารถผลิตสนองตลาดได้ โดยไม่ได้รับผลกระทบจากฤดูกาลและภูมิอากาศ ทำให้สามารถสนองตลาดได้อย่างมีเสถียรภาพ(ตรงเวลา ตามจำนวน คุณภาพสม่ำเสมอ ราคาคงที่)
  2. ไม่ต้องเลือกพื้นดินที่ใช้ในการเพาะปลูก สามารถทำการผลิตในทุกพื้นที่ของประเทศ ในประเทศญี่ปุ่นมีกรณีการใช้อาคารโรงเรียนที่ปิดร้างมาใช้ทำการผลิตด้วย
  3. มีผลผลิตสูงต่อหน่วยพื้นที่ดินที่ใช้ เพราะสามารถทำการผลิตโดยซ้อนๆ กันหลายชั้นในแนวดิ่ง
  4. การควบคุมน้ำที่ป้อนสารอาหาร ช่วยทำให้รสชาติปรับดีขึ้น การควบคุมแสงสว่างในการเติบโต ทำให้สารอาหารเพิ่มพูนขึ้นสามารถลดปริมาณการใช้ยาฆ่าแมลง และยาปราบศัตรูพืช
  5. ทำให้การทำงาน และปริมาณแรงงาน สามารถกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ สร้างเงื่อนไขการทำงานที่สะดวกสะบายในญี่ปุ่น เป็นประโยชน์ในการหาแรงงาน และลดปริมาณการใช้แรงได้ จุดนี้เป็นประโยชน์ในการหาแรงงาน และลดปริมาณการใช้แรงได้ จุดนี้เป็นประโยชน์ต่อประชากรญี่ปุ่นที่มีสูงวัยเพิ่มขึ้น
  6. สร้างโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ สามารถร่วมลงทุนในธุรกิจนี้ได้ ทำให้โอกาสการขยายตัวมีสูง

 

    ข้อจำกัด

  1. การลงทุนเบื้องต้นในอุปกรณ์และเครื่องจักรสูง ขณะเดียวกันต้นทุนดำเนินการก็ยังสูงด้วย
  2. จากข้อจำกัดข้างต้น ทำให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องมีแหล่งรับซื้อที่แน่นอน และกำหนดราคาซื้อที่ชัดเจน
  3. ชนิดของพืชที่สามารถปลูกได้โดยวิธีนี้ยังมีจำกัด เพราะยังต้องพัฒนาเทคนิค โดยทั่วไปใช้ในการปลูกผักสลัด (lettuce) มะเขือเทศ และสตอเบอรี่
  4. การควบคุมสภาวะแวดล้อมทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะกรณีของโรงงานประเภทที่ใช้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ผสมผสานกับแสงสว่างประดิษฐ์ และโดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อน
  5. ยังมีข้อจำกัดด้านบุคลากร ที่มีความรู้ทางเทคนิคอย่างเพียงพอเกี่ยวกับโรงงานประเภทนี้

 

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง 
ขอขอบคุณ : Agro Intelligent สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

 

Related posts

ประเภทการปลูกผักในรูปแบบต่างๆโดย “ปราศจากดิน”

admin
6 years ago

วิธีการทำ รองพื้นหลุม ก่อนปลูก พืชงามทุกชนิด

Smile Smile
4 years ago

ฝรั่งสายพันธุ์ใหม่ “พิจิตร3” ทรงผลยาวคล้ายลูกแพร์

Kaset Pro
2 years ago
Exit mobile version